การวิเคราะห์พุทธเกษตรในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 189
หน้าที่ 189 / 244

สรุปเนื้อหา

บทความนี้ศึกษาเกี่ยวกับพุทธเกษตรที่แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ชาติเกษตร, อาณาเกษตร และวิสัยเกษตร โดยชาติเกษตรมีเขตที่ไหวซึ่งถูกกำหนดด้วยปฏิสนธิแห่งพระตถาคต อาณาเกษตรมีเขตกว้างใหญ่ขึ้น และวิสัยเกษตรนั้นไม่มีที่สุดหรือปริมาณ การพินาศของอาณาเกษตรนำไปสู่การพินาศของชาติเกษตรในที่สุด ซึ่งเผยให้เห็นความเชื่อมโยงกันของพุทธเกษตรทั้งสองรูปแบบ สรุปคือเมื่อพุทธเกษตรทั้งสองพินาศ ย่อมถูกทำลายไปด้วยกันและถูกตั้งขึ้นใหม่พร้อมกัน เป็นการเน้นถึงลักษณะของความไม่ถาวรในโลกและการเรียนรู้จากธรรมะเพื่อให้ได้ข้อคิดต่อการดำรงชีวิตอย่างถาวร

หัวข้อประเด็น

-พุทธเกษตรสามประเภท
-การพินาศของพุทธเกษตร
-อานุภาพแห่งพระปริต
-ความไม่ถาวรในชีวิต
-การศึกษาในวิสุทธิมรรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

า ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 189 ชั้นสุภกิณหา ชั้นเวหัปผลา เมื่อกัปพินาศด้วยไฟ (โลก) ใต้ชั้น อาภัสสราลงมาถูกไฟไหม้ (สิ้น) เมื่อกัปพินาศด้วยน้ำ (โลก) ใต้ ชั้นสุภกิณหาลงมาละลายด้วยน้ำ (ลิ้น) เมื่อกัปพินาศด้วยลม (โลก) ใต้ชั้นเวหัปผลาลงมา ทำลายไปด้วยลม (สิ้น) แต่ (เมื่อว่า ) โดย แดนด้านกว้าง (โลก) พุทธเกษตรหนึ่ง ย่อมพินาศทุกครั้งไป [พุทธเกษตร ๓] อันพุทธเกษตร (นั้น) มี ๓ อย่าง คือชาติเกษตร อาณา เกษตร และวิสัยเกษตร ในพุทธเกษตร ๓ นั้น ชาติเกษตร มี ขอบเขตหมื่นจักรวาฬ ซึ่งเป็นเขตที่ไหว ในเพราะเหตุอัศจรรย์ทั้งหลาย มีการถือปฏิสนธิแห่งองค์พระตถาคตเจ้าเป็นต้น อาณาเกษตรมีขอบ เขตแสนโกฏิจักรวาฬ ซึ่งเป็นเขตที่อานุภาพแห่งพระปริตเหล่านี้ คือ รตนปริต ขันธปริต ธชัคคปริต อาฏานาฏิยปริต และโมรปริต เป็นไป วิสัยเกษตร ไม่มีที่สุด ไม่มีปริมาณ ซึ่ง (ตรงกับที่) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ก็หรือว่า ตถาคตพึงจำนง (จะรู้) โดยที่ เท่าใด" · ดังนี้เป็นต้น เป็นเขตที่พระตถาคตเจ้าทรงจำนง (จะทรง ทราบ) สิ่งใด ๆ ก็ย่อมทราบสิ่งนั้น ๆ ในพุทธเกษตร ๓ ดังกล่าวมานี้ เกษตรเดียวคือ อาณาเกษตร ย่อมพินาศไป แต่ว่าเมื่ออาณาเกษตรนั้นพินาศไปอยู่ แม้ชาติเกษตร ก็ย่อมเป็นอันพินาศด้วยอยู่เอง อันพุทธเกษตรทั้งสองนั้นเมื่อพินาศย่อม พินาศด้วยกัน เมื่อตั้งขึ้น (ใหม่) เล่าก็ตั้งขึ้นด้วยกัน * องฺ. ตึก. ๒/๒๕๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More