ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 16
กำหนดรู้เบญจกามคุณเป็นมุข” อนึ่ง แม้การเจริญกายคตาสติของเธอ
ก็จะถึงความบริบูรณ์ ด้วยอำนาจความปฏิกูล (แห่งอาหาร) มี
อาหารที่ยังไม่ย่อมเป็นต้นด้วย” เธอนับว่าเป็นผู้ดำเนินข้อปฏิบัติอนุโลม
แก่อสุภสัญญา (ด้วย)” อนึ่งเล่า เธออาศัยข้อปฏิบัติอันนี้แล้ว เมื่อ
ยังไม่ลุถึงความสิ้นสุดคือพระอมตะในทิฏฐธรรมนี้ ก็จะมีสุคติเป็นที่
ไปในเบื้องหน้าแล
นี่เป็นคำกล่าวแก้อย่างพิสดารในการเจริญอาหารเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตวุวัฏฐาน
บัดนี้ นิเทศ (คำอธิบาย) การเจริญจตุธาตุววัฏฐาน ที่ท่าน
แสดงไว้ถัดอาหาเรปฏิกูลสัญญามาว่า "ววัฏฐาน " ดังนี มาถึง
แล้วโดยลำดับ
[อธิบายคำบทมาติกา]
วินิจฉัยในบทมาติกานั้น บทว่า ววัฏฐาน (วิเคราะห์ดู)
๑. เพราะรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สงเคราะห์ในรูปขันธ์ (?)
๒. หมายความว่าการพิจารณาความปฏิกูลแห่งอาหารโดยอาการต่าง ๆ นั้น ก็เท่ากับได้
พิจารณาอาการ ๓๒ ไปด้วย เช่นว่าพิจารณาอาหารที่ยังไม่ย่อย ก็คือพิจารณาอุทธิยะ
(อาหารใหม่) นั่นเอง พิจารณาโดยอาสยะ ก็คือพิจารณาน้ำดี เสมหะ บุพโพ โลหิต
พิจารณาอาหารที่ย่อยแล้วก็เป็นอันได้กำหนดกรีสและบุตร พิจารณาโดยผลก็เป็นอันได้
กำหนดโกฏฐาสทั้งหลายมีผลเป็นอาทิไปด้วย
๓. อธิบายว่า แม้อสุภสัญญาจะหมายถึงกำหนดซากศพ ส่วนสัญญานี้กำหนดความ
ปฏิกูลในอาหาร แต่ว่ากำหนดโดยอาการปฏิกูล เหม็น น่าเกลียดในร่างกายด้วยกัน จึง
ว่าอนุโลมกันได้.