วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - การศึกษาเกี่ยวกับนิรยะ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 224
หน้าที่ 224 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับนิรยะซึ่งจัดเป็นทุคติที่เป็นที่อาศัยแห่งทุกข์ และวินิบาตที่ทำให้ตกลงไปอำนาจโดยคนทำชั่ว รายละเอียดเกี่ยวกับอัสสาทะ ความยินดีที่ไม่มีในที่นั้น รวมถึงการแบ่งประเภทของอายะและกำเนิดดิรัจฉานเพื่อเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับอบายและทุคติ ปรากฏการตัดสินใจในคำทำนายของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับวิสัยของผู้ที่เกิดในอบาย อภิปรายถึงความสำคัญของศัพท์ต่างๆ ทั้งมเหสักข์และอสุร เพื่อให้เกิดความเข้าใจในธรรมที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ได้กล่าวถึงความเห็นที่เกี่ยวกับการใช้ศัพท์อย่างเหมาะสมในบริบทนี้ยังคงเปิดช่องว่างสำหรับการศึกษาต่อไป

หัวข้อประเด็น

-นิรยะและความหมาย
-ทุคติและวินิบาต
-การเกิดในอบาย
-อัสสาทะและความยินดี
-ศัพท์ที่สำคัญในพระธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 223 (แดนมา) แห่งความสุขทั้งหลาย นิรยะ จัดเป็นทุคติ เพราะเป็นคติ คือเป็นที่อาศัยไปแห่งทุกข์ นัยหนึ่ง จัดเป็นทุคติ เพราะเป็นคติอันเกิดด้วยกรรมที่ชื่อว่าชั่ว เพราะ เป็นกรรมมากไปด้วยโทษ นิรยะ จัดเป็นวินิบาต เพราะเป็นที่ตกลงไปอย่างหมดอำนาจ แห่งคนทำชั่วทั้งหลาย นัยหนึ่ง จัดเป็นวินิบาต เพราะเป็นที่ตกลงไป อย่างวินาศ คือมีอวัยวะใหญ่น้อยย่อยยับ (แห่งคนทำชั่วทั้งหลาย) ดัง นี้ก็ได้ อายะ ที่เรียกกันว่า อัสสาทะ (ความยินดี) ไม่มีในที่นั้น เหตุ ฉะนี้ ที่นั้นจึงชื่อนิรยะ อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบ่นถึงกำเนิดดิรัจฉาน ด้วย อปายศัพท์ จริงอยู่ กำเนินดิรัจฉานชื่อว่าอบาย เพราะปราศจากสุคติ (แต่) ไม่จัดเป็นทุคติ เพราะเป็นที่สมภพแห่งดิรัจฉานจำพวกมเหสักข์ มีนาคราชเป็นต้น ทรงบ่งถึงเปรถวิสัย ด้วยทุคคติศัพท์ จริงอยู่ เปรตวิสัยนั้น จัดเป็นอบายด้วย เป็นทุคติด้วยแท้ เพราะปราศจากสุคติ และเพราะ เป็นคติแห่งทุกข์ แต่ไม่จัดเป็นวินิบาต เพราะเปรตวิสัยมิได้ตกอย่า ย่อมยับเช่นกับอสุรกาย” (ดังจะกล่าวต่อไป) ๑. มเหสักข์ แยกเป็นมหา + อีส - อกข แปลว่าผู้มีเขากล่าวว่าเป็นเจ้าใหญ่ คู่กับอัปเปสักข์ ผู้ที่เขากล่าวว่าเป็นเจ้าน้อย ตรงกับภาษาไทยเราว่า ผู้ใหญ่ ผู้น้อย (?) ๒. อสุรสทิส มหาฎีกาแก้เป็น เปตาสุรสทิส จะหมายถึงอะไรของท่านทราบ ในที่ นี้เห็นว่า อสุร ควรจะเป็นอสุรกาย ซึ่งจะกล่าวต่อไป ไม่จัดเป็นพวกอบายภูมิ ศัพท์ อสุรสทิส สะดุดตาน่าพิจารณาอยู่ ว่าใช้ได้หรือไม่ ?
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More