ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 108
พระองค์ โดยใจความว่า บุคคลไม่ควรประทุษร้ายต่อผู้ที่มิได้ทำร้าย
ความที่พระราชาไม่อาจทรงปล่อยลูกศรออกไปได้ดังกล่าวมาฉะนี้ เป็น
สมาธิวิปฺผาราอิทธิ ของพระนางสามาวดีอุบาสิกา แล
[๖ อรินาอิทธิ]
ส่วนฤทธิมีความเป็นผู้สำคัญว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งปฏิกูลเป็นอทชาติอยู่
เป็นปกติได้เป็นต้น ชื่อว่า อริยาอิทธิ (สมคำที่กล่าวในปฏิสัมภิทา) ว่า
"อริยาอิทธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ หากจำนงว่า "ขอเราพึง
เป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่เถิด" ดังนี้ไซร้ เธอก็
ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ได้ ฯลฯ เป็น
ผู้มีสติสัมปัญญะวางเฉยในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ได้ " ฤทธิมีความเป็นผู้
สำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลเป็นอาทิอยู่เป็นปกติได้เป็นต้นนี้แล เรียก
ว่า อริยาอิทธิ เพราะมีแต่แก่พระอริยะทั้งหลายผู้ได้เจโตวสีเท่านั้น
จริงอยู่ ภิกษุขีณาสพผู้ประกอบด้วยอริยาอิทธินั้น เมื่อทำการแผ่เมตตา
ก็ดี ธาตุมนสิการก็ดี ในวัตถุที่ปฏิกูล คือที่ไม่น่าปรารถนา ชื่อว่า
เป็นผู้มีอัปปฏิกูลสัญญา (ความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งที่ปฏิกูล) อยู่
เมื่อทำการแผ่อสุภก็ดี มนสิการว่าไม่เที่ยงเป็นต้นก็ดี ในวัตถุที่ไม่ปฏิกูล
ในสิ่งไม่ปฏิกูล) อยู่ นัยเดียวกันนั้น ภิกษุเมื่อทำการแผ่เมตตาก็ดี
ธาตุมนสิการก็ดี นั้นแหละ ในวัตถุทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ก็ชื่อว่าเป็น
ขุ. ป. ๑๑/๕๕๕.