อนาคตังสญาณและยถากัมมูปคญาณในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 243
หน้าที่ 243 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับอนาคตังสญาณและเจโตปริยญาณเป็นหลักสำคัญในวิสุทธิมรรค ซึ่งได้อธิบายว่า อนาคตังสญาณมีธรรมชาติเป็นอนาคตารมณ์ รวมถึงการรู้เกี่ยวกับอนาคตและกรรมต่างๆ โดยยกตัวอย่างกรณีต่างๆ เช่น การรู้เกี่ยวกับการเกิดขึ้นในอนาคตของบุคคลและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับขันธ์ในอดีต การระบุรายละเอียดที่เกี่ยวกับอนาคตอันชัดเจน เช่น การเกิดของพระเมตเตตยะและบิดามารดา ซึ่งสัมพันธ์กับนวัตทัพพารมณ์ ขณะที่ยถากัมมูปคญาณมีอารมณ์ที่แตกต่างกันโดยมีกรณีศึกษาที่สำคัญเกี่ยวกับกรรมซึ่งมีทั้งประเภทกามาวจร รูปวจร และอรูปาวจร ที่นักวิชาการพึงจะให้ความสำคัญในการศึกษาในด้านนี้

หัวข้อประเด็น

- อนาคตังสญาณ
- เจโตปริยญาณ
- ยถากัมมูปคญาณ
- วิสุทธิมรรค
- พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 242 แต่โดยแน่นอนแล้ว อนาคตังสญาณนั้น เป็นอนาคตารมณ์แม้ ในอนาคตารมณญาณทั้งหลายนั้น แม้เจโตปริยญาณก็เป็นอนาคตารมณ์ ได้ก็จริงแล แต่ทว่า เจโตปริยญาณนั้น มีจิตที่เป็นอนาคตภายใน (ระยะ) ๒ วันเท่านั้นเป็นอารมณ์ เพราะเจโตปริยญาณนั้นหารู้ขันธ์หรือสิ่งที่ เนื่องด้วยขันธ์อื่นไปไม่ (แต่) สิ่งอะไร ๆ ในอนาคต ชื่อว่ามิได้ เป็นอารมณ์แห่งอนาคตังสญาณหามีไม่ โดยนัยที่กล่าวแล้วในปุพเพ- นิวาสญาณ ในกาลที่รู้ว่า "เรา (ในอนาคต) จักเกิดในที่โน้น" ก็เป็น อัชฌัตตารมณ์ ในกาลที่รู้ว่า "คนโน้น (ในอนาคต) จักเกิดที่โน้น" ก็เป็นพหิทธารมณ์ ในกาลที่รู้ชื่อและโคตร โดยนัยเช่นว่า "ในอนาคต พระผู้มีพระภาคเมตเตตยะจักเกิดขึ้น พราหมณ์ชื่อสุพรหมา จักเป็น พระบิดา พราหมณ์ชื่อพรหมวดี จักเป็นพระมารดาของพระองค์" ดังนี้ ก็เป็นนวัตทัพพารมณ์ โดยนัยที่กล่าวแล้วในปุพเพนิวาสญาณ นั้นแล ความเป็นไปในอารมณ์ 4 แห่งอนาคตตั้งสญาณ บัณฑิตพึงทราบ โดยประการที่กล่าวมาฉะนี้ [ยถากัมมูปคญารเป็นไปในอารมณ์ ๕] ยถากัมมูปคญาณ ย่อมเป็นไปในอามรณ์ ๕ โดยเป็นปริตตารมณ์ มหัคคตารมณ์ อดีตรมณ์ อัชฌัตตารมณ์ และพหิทธารมณ์ เป็นไป อย่างไร ? ก็ยถากัมมูปคญาณนั้น ในกาลที่รู้กรรมอันเป็นกามาวจร ก็เป็นปริตตารมณ์ ในกาลที่รู้กรรมอันเป็นรูปวจร และอรูปาวจร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More