ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 27
แบบ (บาลี) จึงจักคล่อง " เธอยังไม่ยามุขที่มาถึง ๆ ให้พิสดาร
ทุกที ทำสาธยายไป (คือสาธยายเต็มทุกแห่ง ไม่ละตามไปยาล) ภิกษุ
อีกรูปหนึ่ง (คือรูปที่มีปัญญากล้า) ก็กล่าวกะเธอรูปนั้นอย่างนี้ว่า
"นั้นได้ชื่อว่าสาธยายอะไรกัน ไม่ให้ถึงที่สุดได้ เมื่อทำสาธยายวิธีนี้
สักเมื่อไร แบบ (บาลี) จึงจักถึงที่จบ" ดังนี้ฉันใด การกำหนด
ธาตุอย่างพิสดารไปตามอาการมีผมเป็นต้น ก็ปรากฏเป็นชักช้าสำหรับ
ภิกษุผู้มีปัญญากล้า ต่อเมื่อเธอมนสิการอย่างสังเขปโดยนับว่า "สิ่ง
ที่มีลักษณะกระด้าง เป็นธาตุดิน " เป็นต้น กรรมฐานจึงปรากฏ
สำหรับอีกรูปหนึ่งมนสิการอย่างนั้น กรรมฐานจะมืดไปไม่ชัดแจ้ง ต่อ
มนสิการ โดยพิสดารไปตามอาการมีผมเป็นต้น กรรมฐานจึงปรากฏ
ก็ฉันนั้นแล
[วิธีเจริญธาตุกัมมัฏฐานสำหรับผู้มีปัญญากล้า]
เพราะเหตุนั้น อันภิกษุที่มีปัญญากล้าผู้ปรารถนาจะบำเพ็ญ
กรรมฐานนี้ ชั้นแรกพึงเป็นผู้ไปในที่ลับ (คน) เร้นอยู่ (ผู้เดียว) แล้ว
* รโนคเตน ปฏิสลุลีเนน มหาฎีกาอธิบายให้ความรู้ว่า รโหคต เป็นส่วนกายวิเวก
คือไปสู่ที่อันอนุกูลแก่การเจริญภาวนาอยู่ผู้เดียว ปฏิสลลียา เป็นส่วนจิตตวิเวก คือพราก
จิตจากอารมณ์ต่าง ๆ แล้วซ่อนจิตไว้ในกรรมฐาน
เราเข้าใจกันว่า ทั้งสองบทนี้เป็นส่วนกายวิเวกเท่านั้น การจะทำกรรมฐาน ก่อน
อื่นก็ต้องหาที่ลับคน ถ้าไปนั่นทำอยู่ต่อหน้าคนหรือในที่ ๆ คนไปมาเห็นได้ ก็จะกลายเป็น
อาปาถูกชุฌายี - เข้าฌานอวดคนไป นี่รโหคต ในที่ลับเช่นนั้นอาจมีภิกษุไปอาศัยทำ
กรรมฐานด้วยกันหลายรูป ถ้าเช่นนั้นเมื่อจะนั่งเมื่อจะนั่งกรรมฐานก็พึงปลีกตัวไปหาที่เร้น คือ
ให้ห่างกันตามสมควร ไม่ใช่นั่งทำอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม นี่ปฏิสลุลีน แม้ในปาฐะท่าน
ก็เรียง ๒ บทนี้ไว้เป็นบุพภาค แล้วจึงพิจารณากายกำหนดธาตุต่อไป