การสร้างน้ำก้อนในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 195
หน้าที่ 195 / 244

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงกระบวนการที่ลมสามารถทำให้น้ำกลายเป็นก้อน และการแปรสภาพของน้ำจนเกิดเป็นพรหมโลกและเทวโลกตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค โดยมีการเปรียบเทียบถึงการอยู่ในกระบอกกรองที่รองรับน้ำไว้ นอกจากนี้ยังพูดถึงความสัมพันธ์ของพรหมโลกกับแผ่นดิน และการเกิดขึ้นของเทวโลก 4 ชั้นที่มีความเกี่ยวข้องกับโลกมนุษย์อย่างไร

หัวข้อประเด็น

- การทำก้อนน้ำโดยลม
- ปรากฏการของพรหมโลก
- การเปรียบเทียบกับกระบอกกรอง
- ความสัมพันธ์ของแผ่นดินกับเทวโลก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 195 (พัด) อุ้มน้ำนั้นไว้ข้างล่างและทางขวาง (คือพัดไปรอบน้ำไม่ให้น้ำ กระจายไป) ทำจน (น้ำนั้นแข้นเข้า) เป็นก้อน น้ำก้อนนั้นกลม เช่นกับหยาดน้ำในใบบัว หากมีคำถามว่า "ลมทำกองน้ำใหญ่ปานนั้น ให้เป็นก้อนได้ อย่างไร ?" คำแก้พึงมีว่า "ทำได้โดยน้ำเปิดช่องให้" จริงอยู่ น้ำนั้น ย่อมให้ช่องแก่ลมนั้น ในที่นั้น ๆ (ให้ลมแทรกเข้าไปทำให้แข้นได้) น้ำนั้นถูกลมปั้นทำให้เป็นก้อนอยู่อย่างนั้น ก็ค่อยเลือดไปงวดลงข้างล่าง โดยลำดับ ครั้นน้ำงวดลงๆ พรหมโลกก็เกิดปรากฏขึ้นในที่ ๆ เคย เป็นพรหมโลก และเทวโลกทั้งหลายก็เกิดปรากฏขึ้นในที่ ๆ เคยเป็น กามาวจรเทวโลก ๔ ชั้นข้างบน แต่ครั้นงวดลงมาถึงที่ ๆ เคยเป็น แผ่นดินแต่ก่อน ลมแรงก็เกิดขึ้น ลมนั้นกั้นน้ำนั้นไว้ทำมิให้ระบาย ไปได้ ดังน้ำอยู่ในกระบอกกรองที่คนปิดช่อง (ระบายอากาศ) ไว้ฉะนั้น น้ำอันมีรสหวานถึงซึ่งความเดือดไป ทำให้เกิดง้วนดินเป็นฝาขึ้น ง้วนดินนั้น เป็นสิ่งที่ถึงพร้อมด้วยสี และถึงพร้อมด้วยกลิ่นรส ดัง หน้าข้าวปายาสที่หุงไม่ใช่น้ำเลย (คือหุงด้วยน้ำนม) ฉะนั้น ด. 6. ปาฐะฉบับที่พิมพ์ไว้เป็น วาเต สมฺปิณฑิมาน คลาดเคลื่อน ที่ถูกเป็น วาเตน.... ๒. เทวโลก 4 ชั้นข้างบน คือ ยามะ ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี ส่วน ๒ ชั้น ข้างล่วง คือ ดาวดึงส์ และจาตุมหาราชิก ท่านว่าเพราะสัมพันธ์กับแผ่นดิน จึงยังไม่เกิด ก่อน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More