วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 150
หน้าที่ 150 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในภาคนี้บรรยายถึงเหตุการณ์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิมนต์ให้มีการรับภิกษาในบ้านของพระองค์ พร้อมทั้งการตรวจสอบความเชื่อของนันโทปนันทนาคราชและการพิจารณาโดยพระมหาโมคคัลลานเถระเกี่ยวกับการช่วยเหลือจากมิจฉาทิฏฐิ พระองค์ได้ออกเดินทางไปยังเทวโลกเพื่อเข้าร่วมการเลี้ยงอาหารที่นาคราชจัดทำเตรียมไว้ สำหรับประเพณีที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับการประดับประดาและการเต้นรำ.

หัวข้อประเด็น

- การนิมนต์ภิกษุ
- พระผู้มีพระภาค
- นาคราชและมิจฉาทิฏฐิ
- อาปานภูมิ
- การเลี้ยงอาหารในเทวโลก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 150 วันพรุ่งนี้ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป ทรงรับภิกษาในเรือน ข้าพระองค์เถิด" แล้วกลับไป พระผู้มีพระภาคทรงรับ (นิมนต์) แล้ว ทรงใช้ (เวลากลางวัน) วันนั้น อีกทั้งส่วนราตรีกาลให้ล่วง ไป (ด้วยพุทธกิจอื่น ๆ ) แล้ว ถึงปัจจุสสมัยจึงทรงตรวจดูหมิ่น โลกธาตุ ครั้งนั้นนันโทปนันทนาคราชาสู่คลอง (พุทธจักษุ) ในทางแห่งพระญาณของพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคำนึกดูว่า "นาคราชผู้นี้มาสู่คลองในทางแห่งญาณของเรา อุปนิสัยของเขามีอยู่ หรือนาค" ก็ทรงเห็นว่า "นาคราชนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิไม่เสื่อมใสใน พระไตรรัตน์" จึงทรงรำพึง ต่อไป) ว่า "ใครเล่าหนอ จะพึง เปลื้องนาคราชนี้จากมิจฉาทิฏฐิได้" ก็ได้ทรงเห็นพระมหาโมคคัลลาน เถระ (ว่าจะสามารถทำอย่างนั้นได้) ต่อนั้น ครั้นราตรีรุ่งสว่าง ทรงชำระพระกายแล้ว จึงตรัสเรียกท่านอานนท์ว่า "อานนท์ เธอ จงบอกแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปว่าตถาคตจะไปจาริกในเทวโลก" พอดีวันนั้น พวกนาคราชได้จัดแต่งอาปานภูมิ (ที่กินเลี้ยง) สำหรับนันโทปนั้นทนาคราช นาคราชนั้นมีเศวตรฉัตรทิพกั้น มี เหล่าระบำ ๓ พวก” และนาคบริษัทแวดล้อม นั่งชมข้าวน้ำต่างอย่างที่ ๑. สำนวนอย่างนี้ไม่คุ้นหูของเรา ที่คุ้นหูนั้นเป็นสำนวนในอรรถกถาธรรมบทว่า "ปรากฏ ในข่ายแห่งพระญาณ" ๒. อาปานภูมิ ตามรูปศัพท์น่าแปลว่า "ที่เป็นที่มาดื่ม" ชวนให้นึกไปว่าเป็นที่เลี้ยงสุรา แต่พิจารณาดูความต่อไปก็ไปมีตรงไหนส่อว่าในการเลี้ยงนั้นมีสุราด้วยเลย ในมหาฎีกา ก็แก้ว่าเป็นที่นั่งทำโภชนกิจ แล้วสรุปว่า บริเวสนฏฐาน ที่จัดอาหารเลี้ยง ในเรื่อง เล่าทั้งหลายก็ไม่เคยพบเรื่องนาคดื่มสุรา มีแต่เรื่องอสูรชอบดื่มสุรา ๓. มหาฎีกาว่าหมายเอาหญิงนักฟ้อนรำ ๓ รุ่น คือ รุ่นวธ รุ่นกุมารี รุ่นกัญญา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More