ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 202
[กำหนดระยะกาลแห่งอสงไขยกัปในเตโชสังวัฏฏะ]
ในกัป ๔ นั้น (ระยะกาล) แต่ (เกิด) มหาเมฆล้างกัปไปจนถึง
เปลวไฟขาด นี้เป็นอสงไขยหนึ่งเรียกว่า สังวัฏกัป แต่เปลวไฟผลาญ
กัปขาดไปจนถึง (เกิด) มหาเมฆก่อเกิด (โลก) ที่ยังแสนโกฏิจักรวาฬ
ให้เต็ม (ด้วยน้ำ) นี่เป็นอสงไขยที่ ๒ เรียกว่า สังวัฏฏฏฐายกัป แต่
มหาเมฆก่อเกิด (โลก) ไปจนถึงความเกิดปรากฏขึ้นแห่งจันทร์และสูรย์
นี่เป็นอสงไขยที่ ๓ เรียกว่า วิวัฏกัป แต่ความเกิดปรากฏขึ้นแห่งจันทร์
และสูรย์ไปจน (เกิด) มหาเมฆล้างกัปอีก นี่เป็นอสงไขยที่ ๔ เรียกว่า
วิวัฏฏฏฐายีกัป (รวม) ๔ อสงไขยนี้เป็นมหากัป ๑
ความพินาศด้วยไฟ และความตั้งขึ้นใหม่ (แห่งพุทธเกษตร)
บัณฑิตพึงทราบโดยดังกล่าวมาฉะนี้ เป็นอันดับแรก
[อาโปสังวัฏฏะ]
ส่วนในสมัยที่กัปพินาศด้วยน้ำ (คำพรรณนาทั้งปวง) บัณฑิต
พึง (กล่าว) ให้พิสดารตามนัยที่กล่าวในตอนก่อน (คือในตอนเตโช
สังวัฏฏะ) ว่า "แรกที่เดียว มหาเมฆล้างกัปตั้งขึ้น" ดังนี้เป็นต้น
นั่นเถิด แต่ความ (ต่อไป) นี้เป็นความแปลกกัน มหาเมฆน้ำกรดที่
เป็นต้นล้างกัปในอาโปสังวัฏฏะนี้ตั้งขึ้น เปรียบได้กับสูรย์ดวงที่ ๒ ใน
เตโชสังวัฏฏะนั้น มหาเมฆน้ำกรดนั้น แต่แรกก็ตกลงมาเป็นฝอย ๆ
(ค่อย) ตกโดย (เป็น) หยาดน้ำใหญ่ (ขึ้น) ตามลำดับ (จน) ยัง
แสนโกฏิจักรวาฬให้เต็ม สิ่งทั้งปวงมีแผ่นดินและภูเขาเป็นต้น ที่น้ำกรด