ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 225
[เริ่มทำทิพยจักษุ]
ก็แลอาทิกมิกกุลบุตร ผู้ปรารถนาจะเห็น (ด้วยทิพยจักขุ)
อย่างนั้น จึงทำฌานที่เป็นบาทแห่งอภิญญา อันมีกสิณเป็นอารมณ์
ให้ควรแก่การนำ (จิต) ไป” (เพื่อทิพจักขุญาณ) ด้วยอาการทั้งปวง
แล้ว ทำบรรดากสิณ ๓ นี้คือ เตโชกสิณ โอทาตรสิณ อาโลกสิณ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ใกล้ (ที่จะเกิดทิพจักขุญาณ) จึงทำอุปจาร -
ฌานให้เป็นโคจร" ขยาย (กสิณารมณ์) แล้วพักไว้ อธิบายว่า
อัปปนา ไม่ควรให้เกิดขึ้นในอารมณ์ที่ขยายแล้วนั้น เพราะถ้าให้เกิด
ขึ้น อารมณ์นั้นก็เป็นที่อาศัยแห่งปาทุกฌานไป ไม่เป็นที่อาศัยแห่ง
บริกรรม
ก็ในกสิณ ๓ นี้ อาโลกกสิณนั่นแหละดีกว่าเพื่อน เพราะเหตุนั้น
พึงยังอาโลกกสิณนั้น หรือกสิณนอกนี้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ให้เกิด
ขึ้น (เป็นอุปจารฌาร) โดยนัยที่กล่าวในกสิณนิเทศแล้ว ตั้งอยู่ใน
อุปจารภูมิแล จึงขยาย (อารมณ์กสิณ) เถิด แม้นัยในการขยาย
อารมณ์นั้น ก็พึงทราบตามนัยที่กล่าวในกสิณนิเทศนั้นเหมือนกัน
พระโยคาวจรจึงดูรูปที่มีอยู่ ในภายในที่แห่งกสิณารมณ์ที่ขยาย ๆ
อภินิหารนี้มุ่งถึงบาลีว่า จิตต์ อภินิหรติ อภินินนาเมติ ที่กล่าวในเบื้องต้น
๒. ทำ...ให้เป็นโคจร มหาฎีกาอธิบายว่า ทำ...ให้คล่องแคล่ว
ด.
๓. มหาฎีกาว่า เมื่อถึงอัปปนาแล้ว ก็เป็นอันไม่ได้ทำบริกรรม ปราศจากบิกรรมเสียแล้ว
อภิญญาจะเกิดไม่ได้ การเห็นรูปก็ไม่มี
๔. เพราะปฏิภาคนิมิตเกิดพร้อมกับอุปจารฌาน ถึงอุปจารแล้วปฏิภาคนิมิตเกิด จึงขยาย
ได้