วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 175 วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 175
หน้าที่ 175 / 244

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้ได้อธิบายถึงการรับรู้เสียงต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในพรหมโลก และการกำหนดแยกเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ พร้อมทั้งการอธิบายเจโตปริยญาณ ซึ่งเป็นญาณที่สามารถกำหนดใจของผู้อื่นได้ โดยเน้นถึงความสำคัญในการเข้าใจจิตใจของสัตว์อื่น ให้ผู้ปฏิบัติตระหนักถึงการเรียนรู้ผ่านเจตสาเจโต

หัวข้อประเด็น

-เจโตปริยญาณ
-การกำหนดเสียง
-วิสุทธิมรรค
-อรรถาธิบายบาลี
-จิตใจของผู้อื่น

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 175 สังข์กลองและบัณเฑาะว์เป็นต้น (ดังขึ้นไป) กระทั่งถึงพรหมโลกก็ดี เมื่อความเป็นผู้ใคร่จะกำหนดแยก (เสียง) มีอยู่ เธอยังอาจกำหนด (แยก) ว่า นี่เสียงสังข์ นี่เสียงกลอง เป็นต้นได้เสียด้วยแล ทิพพโสตธาตุกถา จบ เจโตปริยญาณกถา [อรรถาธิบายศัพท์บาลีเจโตปริยญาณ] ในบทว่า "เจโตปริยญาณาย - เพื่อเจโตปริญาณ" นี้ ใน ในเจโตปริยญาณกถา มีอรรถาธิบายว่า ญาณชื่อปริยะ เพราะไปรอบ หมายความว่ากำหนดได้ ญาณอันกำหนดได้ซึ่งใจ (ของผู้อื่น) ชื่อเจโต ปริยะ ญาณนั้นด้วย กำหนดได้ซึ่งใจ (ของผู้อื่น) ด้วย เหตุนั้นจึงชื่อ เจโตปริยญาณ (ญาณอันกำหนดใจของผู้อื่นได้) (บทว่า เจโตปริย ญาณาย) มีอธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่เจโตปริยญาณนั้น บทว่า ปรสตฺตานํ ของสัตว์อื่น " คือของสัตว์ที่เหลือทั้งหลายเว้นตนเสีย แม้ บทว่า "ปรปุคฺคลาน - ของบุคคลอื่น " นี้ ก็มีความเป็นอันเดียวกับบท นี้แล แต่ทรงทำพยัญชนะต่างกันไป ตามประเภทแห่งเวไนย และโดย เทสนาวิลาส (ทำนองการแสดงที่ไพเราะ ?) คำว่า "เจตสา เจโต" คือซึ่งจิตของสัตว์อื่นบุคคลอื่นเหล่านั้น ด้วยจิตของตน บทว่า "ปริจฺจ" แปลว่ากำหนด บทว่า "ปชานาติ" คือรู้โดยประการต่างๆ โดยประการแห่งจิตทั้งหลาย มีจิตมีราคะเป็นต้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More