วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - อัชฌัตตารมณ์ และทิพพโสตธาตุญาณ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 233
หน้าที่ 233 / 244

สรุปเนื้อหา

บทความนี้วิเคราะห์อัชฌัตตารมณ์และการทำกายใจให้เป็นอารมณ์ รวมถึงความเข้าใจในทิพพโสตธาตุญาณ โดยอธิบายการแสดงอารมณ์ต่าง ๆ เช่น เสียงและการรับรู้ ทั้งนี้เพื่อให้บัณฑิตเข้าใจธรรมชาติของอารมณ์ต่าง ๆ ในมุมมองที่ละเอียดขึ้น และสามารถประยุกต์ใช้ในการเจริญปัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-อัชฌัตตารมณ์
-ทิพพโสตธาตุญาณ
-อารมณ์ที่เกิดจากการรับรู้
-การพัฒนาจิตและกาย
-วิสุทธิมรรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 232 เป็นอัชฌัตตารมณ์ โดยที่ทำกายและจิตของตนให้เป็นอารมณ์ ในกาลที่น้อมจิตไปตามอำนาจกาย หรือน้อมกายไปตามอำนาจจิต และ ในกาลที่นิรมิตตนเป็นเพศต่าง ๆ มีเพศกุมารเป็นต้น แต่ในกาลที่ แสดงรูปต่าง ๆ มีช้าง ม้าเป็นต้น อันเป็นสิ่งภายนอก (กายของตน) ก็เป็นพหิทธารมณ์ แล ความที่อิทธิวิธญาณเป็นไปในอารมณ์ ๓ บัณฑิตพึงทราบโดยนัย ดังกล่าวมาฉะนี้ เป็นอันดับแรก (ทิพพโสตธาตุญาณเป็นไปในอารมณ์ ๔] ทิพพโสตธาตุญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ ๔ โดยเป็นปริตตารมณ์ ปัจจุปันนารมณ์ อัชฌัตตารมณ์ และพหิทธารมณ์ ถามว่า เป็นไป อย่างไร ? แก้ว่า ก็ทิพพโสตธาตุญาณนั้น เพราะเหตุที่ทำเสียงให้เป็น อารมณ์ และเสียงเป็นปริตตธรรม (คือเป็นกามาวจร) เพราะเหตุนั้น จึงเป็นปริตตารมณ์ แต่เพราะทำเสียงอันมีอยู่ (คือเป็นไปอยู่) นั่นเองให้ เป็นอารมณ์เป็นไป จึงเป็นปัจจุปันรมณ์ ในกาลที่ได้ยินเสียง (สัตว์) ในท้องของตน ทิพพโสตธาตุญาณนั้นก็เป็นอัชฌัตตารมณ์ ในกาลที่ได้ ยินเสียงของผู้อื่น ก็เป็นพหิทธารมณ์แล ความที่ทิพพโสตธาตุญาณ เป็นไปในอารมณ์ ๔ บัณฑิตพึงทราบโดยนับดังกล่าวมาฉะนี้ [เจโตปริยญาณเป็นไปในอารมณ์ ๘] เจโตปริยญาณ ย่อมเป็นไปในอารมณ์ 4 โดยเป็นปริตตารมณ์ มหัคคตารมณ์ อัปปมาณารมณ์ มัคคารมณ์ อตีตารมณ์ อนาคตารมณ์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More