วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 235
หน้าที่ 235 / 244

สรุปเนื้อหา

บทนี้ในวิสุทธิมรรคอธิบายถึงสันตติปัจจุบันว่าจิตเป็นปัจจุบันในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งประกอบด้วยสันตติวาระ หมายถึงช่วงที่จิตมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป พร้อมทั้งยกตัวอย่างในการปรากฏของอารมณ์และรูปในการเคลื่อนไหว ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมองเห็นและการรับรู้ในสภาวะแวดล้อมที่ต่างกัน เช่น จากที่มืดไปสู่ที่สว่าง หรือจากที่สว่างเข้าไปในที่มืด นอกจากนี้ยังรวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการแบ่งช่วงเวลาในการปรากฏของอารมณ์โดยอาศัยหลักการของวิภูตวาระและอวิภูตวาระ ซึงเป็นการขยายความให้ลึกซึ้งขึ้นในพุทธปรัชญา

หัวข้อประเด็น

-สันตติปัจจุบัน
-จิตในขณะปัจจุบัน
-การเกิดและดับของอารมณ์
-การมองเห็นและการรับรู้
-ความหมายของวาระ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 234 ปัจจุบัน (จิตเป็นปัจจุบันชั่วสันตติแห่งรูป) ๑ อัทธาปัจจุบัน (จิต เป็นปัจจุบันชั่วกาลภพหนึ่ง) ๑ ในปัจจุบัน (จิต) ๓ อย่างนั้น (จิต) ที่ถึงความเกิดขึ้นตั้งอยู่และ ดับไป (ขณะหนึ่ง) ชื่อขณะปัจจุบัน ที่นับเนื่องอยู่ใน (ระยะ) ๑-๒ สันตติวาระชื่อสันตติปัจจุบัน [สันตติปัจจุบัน] พึงทราบอธิบายในสันตติปัจจุบันนั้น (ดังนี้) อารมณ์ (คือรูป) ย่อมไม่ปรากฏทันทีแก่คนผู้นั่งอยู่ในที่มืด แล้วไปสู่ที่สว่าง (ระยะ) ชั่วอารมณ์นั้นปรากฏ ในระหว่างนั้น พึงทราบว่าเป็น (ระยะ) ๑-๒ สันตติวาระ รูปย่อมไม่ปรากฏโดยพลันทันที แม้แก่คนผู้เที่ยวไปในที่สว่าง แล้วเข้าสู่ห้องใน (ระยะ) ชั่วรูปนั้นปรากฏ ในระหว่างนั้น พึงทราบว่า เป็น (ระยะ) ๑-๒ สันตติวาระ๑ อนึ่ง ภิกษุยืนอยู่ไกล แม้ (มอง) เห็นกิริยาเคลื่อน เห็นกิริยาเคลื่อนไหวมือ และ กิริยาท่าทางในการตีฆ้องกลองเป็นต้น ของพวกนักฟ้อนรำ ๒ ก็ยังไม่ได้ ๑. มหาฎีกาว่า ชั่วเวลาอันนิดน้อยที่สันคติ คือความสืบต่อแห่งรูปเป็นไปนั้นเรียกว่า วาระ เมื่อออกจากที่มืดไปสู่ที่สว่าง หรือจากที่สว่างไปสู่ที่มืด ชั่วระยะเวลาที่รูปปรากฏ ชัดนั้น แบ่งเป็น ๒ วาระ ครึ่งเวลาแรกเป็นอวิภูตวาระ (วาระไม่ชัด) ครึ่งเวลาหลัง เป็นวิภูตตวาระ (วาระชัด) รวมเข้าด้วยกันเรียกว่า เทวสนฺตติวาระ - สันตติ ๒ วาระ แต่ ความปรากฏชัดแห่งรูปนั้น ลางคนก็เป็นปรากฏเร็วจนไม่พอจะแบ่งเป็น ๒ วาระ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียงคำ เอก ไว้ด้วย เป็น เอกเทวสนฺตติวาร แปลว่า สันตติ ๑ หรือ ๒ วาระ ๒. ศัพท์ รชกาน เข้าใจว่าคลาดเคลื่อน รชกะ แปลว่าคนย้อมผ้า คนชักผ้า ไม่เข้า กับเรื่องเลย ในที่นี้แก้เป็น นฏาน ดังที่แปลไว้นั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More