ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 97
ด้วยความไม่เชื่อ อันวิริยะจับแล้วย่อมไม่หวั่นไหวด้วยความเกียจคร้าน
อันสติจับแล้วย่อมไม่หวั่นไหวด้วยความเลินเล่อ อันสมาธิจับแล้วย่อม
ไม่หวั่นไหวด้วยความฟุ้งซ่าน อันปัญญาจับแล้วย่อมไม่หวั่นไหวด้วย
ความไม่รู้ ไปกับแสงสว่าง (แห่งญาณ) แล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวด้วย
ความมืด คือกิเลส จิตอันธรรม ๖ ประการนี้จับแล้ว ย่อมเป็นจิต
๖
ถึงซึ่งความไม่หวั่นไหว จิตประกอบด้วยองค์ ๘ ดังกล่าวมานี้ จึง
เป็นจิตควรแก่การนำมุ่งไป เพื่อการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง ซึ่ง
อภิญญาสัจฉิกรณียธรรมทั้งหลาย
[วินิจฉัยคำพระบาลีอิกนัยหนึ่ง
พึงทราบนัยอื่นอีก ชื่อว่า ตั้งมั่น เพราะ (เป็น) สมาธิใน
จตุตถฌาน ชื่อว่า บริสุทธ เพราะความเป็นจิตอยู่ไกลนิวรณ์ ชื่อว่า
สะอาด เพราะก้าวล่วงองค์ (หยาบ) มีวิตกเป็นต้น ชื่อว่า ไม่มีอังคณะ
เพราะความไม่มีแห่งอิจฉาวจร (ความท่องเที่ยวไปแห่งความปรารถนา)
ทั้งหลายที่เลว อันเป็นข้าศึกแห่งการได้ฌาน” ชื่อว่า ปราศจากอุปกิเลส
เพราะความปราศไปแห่งเครื่องเศร้าหมองจิต มีอภิชฌาเป็นต้น ก็บท
ทั้งสอง (คือ อนงฺคเณ และ วิคตปกกิเลส) นี้ พึงทราบตามทำนอง
๑. ท่านนับ จิต กับ อาเนญชปุปตฺต เป็นองค์เดียวกัน จึงได้ 4
๒. มหาฎีกาให้ตัวอย่างอิจฉาเลวว่าได้แก่มานะ มายา สาไถย เป็นต้น ที่พล่านไปด้วย
อำนาจความอยาก เช่นอยากให้พระศาสดา หรือครูอาจารย์ทักตัวก่อนแล้วจึงสอน โดย
นัยนี้ อังคณะ ก็คือกิเลสประเภทอยากเด่น สมกับที่แปลกันอยู่ว่า "กิเลสดุจเนิน"