ข้อความต้นฉบับในหน้า
174
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - - หน้าที่ 17
เมื่อเธอมนสิการถึงสัททนิมิตอยู่นั่นแล มโนทวาราวัชชนะ ทำ
เสียงเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นว่า "ทิพพโสต-
ธาตุจักเกิดขึ้นในบัดนี้" ครั้นมโนวาราวัชชนะนั้นดับแล้ว ชวนะ
๔ หรือ ๕ ดวง ย่อมแล่นไป ซึ่งบรรดาชวนะเหล่านั้น ๓ หรือ ๔
ดวงแรก เป็นกามาวจร มีชื่อว่าบริกรรม อุปจาร อนุโลม และ
โคตรภู ดวงที่ ๔ หรือดวงที่ ๕ เป็นอัปปนาจิตรูปาวจรชั้นจตุตถฌาน
ในชวนะนั้น ญาณใดที่เกิดขึ้นพร้อมกับอัปปนาจิตนั้น ธาตุคือญาณ
นี้พึงทราบว่าชื่อทิพพโสตธาตุ ต่อนั้นไป ทิพพโสตธาตุนั้นก็ตกเข้าไป
ธ
(คือนับเข้า) ใน (ญาณ) โสต (ประสาทหูอันสำเร็จด้วยญาณ) นั้น
พระโยคาวจรภิกษุเมื่อจะทำทิพพโสตธาตุนั้นให้เป็นกำลัง (แรง
กล้า) ขึ้น จึงขยาย (อารมณ์แห่งปาทุกฌาน คือกสิณนิมิต) กำหนด
เอาเพียง ๑ องคุลี (ก่อน) ด้วยตั้งใจว่า "เราจะฟังเสียงในระหว่าง
โอกาสนี้" แต่นั้นพึงขยาย (โดย) กำหนด ๆ ออกไปตาม (ลำดับ)
ขนาดที่เช่น ๒ นิ้ว 4 นิ้ว 4 นิ้ว คืนหนึ่ง ศอกหนึ่ง ภายในห้อง
๔
หน้ามุข ปราสาท บริเวณ (เขตสังฆาวาส ?) สังฆาราม (วัด)
โคจรคาม (หมู่บ้างที่บิณฑบาต) และชนบท (หัวเมือง ?) ไป
จนกระทั่งจักรวาฬหนึ่ง หรือแม้ยิ่งไปกว่านั้น ภิกษุผู้มีอภิญญาอันได้
บรรลุแล้วอย่างนี้นั้น ย่อมได้ยินเสียงที่ (แล่น) ไปภายในโอกาสที่
อารมณ์แห่งปาทฌาน (แผ่ไป) ถูกต้องเข้าได้โดยแท้ และเมื่อได้ยิน
อย่างนั้นเล่า ถ้าแม้มีเสียงกึกก้องเป็นอันเดียวด้วยเสียงเครื่องประโคมมี
*
มหาฎีกาเสริมความตรงนี้ว่า จำเดิมแต่อัปปนาจิตเกิดขึ้น ภิกษุนั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้ได้
ทิพพโสตญาณ ไม่ต้องการที่จะประกอบภาวนายิ่งขึ้นไป เพื่อให้ได้ทิพพโสตนนั้นอีกแล้ว