ข้อความต้นฉบับในหน้า
หายใจออกข้างนอก
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 25
ก็แลในลม ๖ อย่างนี้ ลม ๕ ข้างต้นเป็นจตุสมุฏฐาน ลม
อัสสาสะปัสสาสะเป็นจิตสมุฏฐานอย่างเดียว
ด้วยบทนี้ว่า "ยำ วา ปนญฺญมฺปิ กิญจิ หรือแม้สิ่งใดสิ่งหนึ่งอื่น
อีก" ในทุกนิเทศ (มีอาโปธาตุนิเทศเป็นต้น) เป็นอันท่านสงเคราะห์
เอา (สิ่งที่เป็น) อาโปธาตุเป็นต้น (อันพึงมีอยู่) ในส่วน (แห่ง
ธาตุ) ที่เหลือเข้าด้วย
ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้ ธาตุ ๔ เป็นอันท่านให้พิสดารแล้ว
ด้วยอาการ ๔๒ คือ ปฐวีธาตุ... ด้วยอาการ ๒๐ อาโปธาตุ...
ด้วยอาการ ๑๒ เตโชธาตุ... ด้วยอาการ ๔ วาโยธาตุ....ด้วยอาการ
๖ ดังนี้แล
นี่เป็นพรรณนาความแห่งบาลีในธาตุววัฏฐาน (วิตถารนัย) นั้น
(เท่านี้) ก่อน
๑. ในตอนอานาปานสติ ท่านแก้ อัสสาสะ เป็นลมหายใจออก ปัสสาสะเป็นสมหายใจ
เข้า ครั้นมาตอนนี้แก้กลับไปตรงกันข้าม ว่าเด็ดขาดเสียด้วย ไม่มีวิเคราะห์อะไร
ทั้งสิ้น ถ้าไม่แต่งคนละองค์ ก็น่าจะว่ามาถึงตอนนี้ท่านได้หลักวินิจฉัยใหม่กระมัง ก็ดี
เหมือนกัน พวกเราจะได้หายข้องใจกันเสียที ว่าอย่างนี้แหละถูก
๒. จตุสมุฏฐาน คือมีจิต กรรม ฤดู อาหาร เป็นสมุฏฐาน ที่ว่าสมอัสสาวะปัสสาสะ
มีจิตเป็นสมุฏฐานอย่างเดียวนั้น มีอธิบายว่า ลมหายใจจะพ้นสรีระไปหามีไม่ แล้ว
จิตตสมุฏฐานจะไปเกิดนอกร่างกายก็ไม่มี
๓.
มหาฎีกาว่า เช่นในนิเทศแห่งอาโปธาตุ ก็สงเคราะห์เอาน้ำสัมภวะเข้าด้วย ใน
นิเทศแห่งเตโชธาตุสงเคราะห์เอาไออุ่นที่มีอยู่ตามปกติในร่างกายเข้าด้วย ในนิเทศ
แห่งวาโยธาตุ สงเคราะห์เอาลมที่ยังพูดและสิวให้เกิดเข้าด้วย