ความอ่อนของจิตและการอบรม วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 96
หน้าที่ 96 / 244

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้กล่าวถึงความสำคัญของจิตที่อ่อนและการอบรมที่ดี ซึ่งทำให้จิตปราศจากอุปกิเลสและมีความไม่หวั่นไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจิตได้รับการอบรมดีแล้ว จะเป็นจิตที่มีความเข้มแข็ง และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาการของจิตที่ตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์นั้น จะนำไปสู่ความไม่หวั่นไหว ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญในการพัฒนาตนเองตามหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้

หัวข้อประเด็น

-ความอ่อนของจิต
-การอบรมจิต
-ปราศจากอุปกิเลส
-ความไม่หวั่นไหว
-หลักธรรมของพระพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 96 เพราะความไม่มีอังคณะนั่นแล จึงชื่อว่า ปราศจากอุปกิเลส เพราะว่าจิตย่อมเศร้าหมองด้วยอังคณะ ชื่อว่า เป็นจิตอ่อน เพราะความเป็นจิตที่ได้อบรมดีแล้ว อธิบาย ว่า เป็นจิตถึงซึ่งความเป็นวสี (อยู่ในอำนาจ) เพราะจิตที่เป็นไป อำนาจ ท่านเรียกว่า จิตอ่อน เพราะความเป็นจิตอ่อนนั่นแหละ จึง เป็นจิตควรแก่การ อธิบายว่า ทนงาน ใช้การได้ อันจิตอ่อน เป็น จิตควรแก่การ เหมือนทองคำที่เขาเป่า (ไล่มลทิน) ดีแล้ว" (ก็อ่อน ใช้การได้) ฉะนั้น ก็แล ความอ่อนและควรแก่การทั้งสองนั้น จะมีได้ ก็เพราะความที่จิตได้อบรมดีแล้วเท่านั้นแล ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ไว้ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง ซึ่งได้ อบรมทำให้มากแล้ว เป็นของอ่อนควรแก่การ เหมือนอย่างจิตนี้เลย" ดังนี้ เพราะความที่จิตนั้นตั้งอยู่ในอาการทั้งหลาย มีความเป็นสิ่ง บริสุทธิ์เป็นต้นนั้น จึงชื่อว่า ตั้งอยู่ เพราะตั้งอยู่นั่นเอง จึงชื่อว่า ถึง ความไม่หวั่นไหว อธิบายว่า ไม่คลอนแคลน ไม่มีความเคลื่อนไหว หรือว่า ชื่อว่า ตั้งอยู่ เพราะตั้งอยู่ในอำนาจของตน โดยความเป็น จิตอ่อนควรแก่การ ชื่อว่า ถึงความไม่หวั่นไหว เพราะเป็นจิตอันคุณ มีศรัทธาเป็นต้นจับแล้ว แท้จริง จิตอันศรัทธาจับแล้วย่อมไม่หวั่นไหว ๑. ปาฐะพิมพ์ไว้เป็น สุทนฺตมิว นั้นคลาดเคลื่อน ที่ถูกเป็น สุธนุต คือเป็น ธมธาตุ จึงจะสมกับเรื่อง ๒. องฺ. เอก. ๒๐/๑๑
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More