ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 142
บนหรือข้างล่างสิ่งที่นิรมิตก่อนนั้น
[ปฐวีอุมมุชฺชนิมุมชฺชปาฏิหาริย์ - ผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดินก็ได้
ในปาฏิหาริย์ข้อว่า "ปฐวิยาปิ อุมมุชฺชนิมมุชช์ - ผุดขึ้นและ
ดำลงในแผ่นดินก็ได้" นี้มีอธิบายว่า การผุดขึ้นเรียกว่า อุมมุชช
การดำลงเรียกว่า ทั้ง
นิมม อุมมุชฺช และ นิมมุชฺช เรียกว่า
อุมมุชฺชนิมมุชฺช อันภิกษุผู้ใคร่จะทำอย่างนั้น จึงเข้าอาโปกสิณ
ออกแล้วทำบริกรรม (โดย) กำหนดตัดตอน (พื้นดิน) ว่า "แผ่นดินใน
พื้นที่เท่านั้นจะเป็นน้ำ" แล้วอธิษฐานโดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล พร้อม
กับการอธิษฐาน แผ่นดินในพื้นที่เท่าที่กำหนดตัดตอน ก็เป็นน้ำทีเดียว
เธอก็ทำความผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดินตรงนั้นได้ นี้บาลีในข้อนั้น
คือ
"ภิกษุผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้อาโปกสิณสมาบัติอยู่โดยปกติ เธออาวัช -
นาการถึงแผ่นดิน ครั้นแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า "(แผ่นดิน) จงเป็น
น้ำ" มันก็เป็นน้ำไป เธอก็ทำความผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดินได้
ด.
ปาจะตอนนี้วุ่น ๆ อยู่ นิมมิเตน นั้น ฉบับพม่าเป็น นิมมิต ปน ถ้าเป็น นิมุมิเตน
ก็จะต้องเป็น อุปาทาน ใน พลว์ คือแปลว่า กว่า.... อนุสนธิ (คือการเชื่อมความ)
ไม่ดี หรือจะว่าไม่มีอนุสนธิก็ได้ เห็นว่าปาฐะฉบับพม่าจะเข้าที่กล่า เป็นรูปนิมิตสัต
(ที่ในไวยากรณ์ให้แปลว่า "ในเพราะ..." แต่ในที่นี้ยักใช้โวหารที่เข้าใจกันดีในบัดนี้ว่า
"ในกรณีที่...") ได้อนุสนธิว่า ประโยคหน้ากล่าวสิ่งที่ผุดขึ้นมาเป็น อุตมยะ คือเกิด
ด้วยฤดู ซึ่งว่าเป็นไปไม่ได้ ส่วนประโยคนี้กล่าวสิ่งที่ผุดขึ้นมานั้นว่า หากเป็นสิ่งที่ท่าน
ผู้มีฤทธิ์อื่นนิรมิตขึ้นเล่า ซึ่งแม้อาจเป็นได้ แต่ก็ไม่สามารถจะกั้นได้ดอก เพราะการ
นิรมิตก่อนย่อมมีกำลัง (กว่า) สิ่งที่นิรมิตทีหลังย่อมหลีกไปไม่ประจัน