มรณสติและกรรมในพุทธศาสนา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 2
หน้าที่ 2 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับมรณสติซึ่งหมายถึงการระลึกถึงความตาย โดยชี้ให้เห็นถึงความขาดแห่งชีวิตินทรีย์และความสัมพันธ์กับกรรมที่ทำไว้ในอดีต อีกทั้งอธิบายลักษณะของมรณะที่เกิดจากอำนาจของกรรมต่างๆ ขอเสนอมุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับเหตุการณ์แห่งชีวิตและความตาย พร้อมให้แนวทางในการเจริญมรณสติเพื่อการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่า. บทนี้เป็นการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการรำลึกถึงความตายและวิธีการเจริญมรณสติที่เหมาะสม ตลอดจนผลกระทบของกรรมที่สะสมมาตลอดชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-มรณสติ
-กรรม
-การศึกษาในพุทธศาสนา
-ความตาย
-การเจริญมรณสติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หน้าที่ 2 ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้ แห่งปัจจัยอันเป็นเครื่องยังอายุให้สืบต่อไปยังมีอยู่ แต่ก็มีขึ้นได้ เพราะ ความที่กรรมอันก่อปฏิสนธิ มีวิบากสุกงอมสิ้นเชิงแล้วนี้ ชื่อว่า มรณะ เพราะสิ้นบุญ" มรณะใดมีขึ้นด้วยอำนาจความสิ้นแห่งอายุ ดังอายุ อันมีประมาณสก ๑๐๐ ปีของคนทุกวันนี้ เพราะความไม่มีสมบัติ เช่น คติ กาล และอาหารเป็นต้น นี้ชื่อว่ามรณะเพราะสิ้นอายุ ส่วน มรณะใดย่อมมีแก่บุคคลทั้งหลายผู้มีปัจจัยเครื่องสืบต่อ (แห่งอายุ) ถูก กรรมที่สามารถยังสัตว์ให้เคลื่อนจากฐานะ (ที่เป็นอยู่) ได้ทันที เข้า มาตัดเอา ดุจคนบาปทั้งหลายมีพญาทุสิมาร และพญากลาพุเป็นต้น ก็ดี แก่บุคคลทั้งหลายผู้มีปัจจัยเครื่องทุสิมาร และพญากลาพุเป็นต้น ด้วยอุปักกมะ (ความทำร้าย) มีการใช้ศัสตราเป็นต้น ด้วยอำนาจ แห่งกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนก็ดี” มรณะนี้ชื่อว่า อกาลมรณะ มรณะ ทั้งหมดนั้น (ล้วน) สงเคราะห์เข้าด้วยความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ มี ประการดังกล่าวแล้ว ความระลึกถึงความตาย กล่าวคือความขาดแห่ง ชีวิตินทรีย์ ดังกล่าวมานี้แล ชื่อมรณสติ [วิธีเจริญมรณสติ] พระโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญมรณสตินั้น จึงเป็นผู้ไปในที่ลับ ๑. มหาฎีกาว่า มรณะเพราะสิ้นบุญนี้ ท่านกล่าวสำหรับสมบัติภพ คือภพดี ถ้ากล่าวสำหรับวิบัติภพ คือภพเลว ก็ต้องว่า มรณะเพราะสิ้นบาป หมายความว่าสิ้นบุญตายก็มี สิ้นบาปตายก็มี ๒. นัยแรกหมายถึงกรรมหนักที่ทำในปัจจุบัน นัยหลังเป็นบุริมกรรม แต่ก็นับเป็นอุปัจเฉทกรรม ทั้งคู่ (?)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More