ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 217
ทั้งหลาย อนึ่ง พรหมทั้งหลายเป็นผู้มีจิตหาโทษมิได้อยู่” ฉันใด พระ
โยคีทั้งหลายผู้ประกอบพร้อมด้วยธรรมเหล่านั้น ก็เป็นผู้ (มีจิต)
เสมอด้วยพรหมอยู่แท้ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น ท่านจึง
เรียกว่าพรหมวิหาร เพราะอรรถว่าเป็นธรรมประเสริฐประการ
เพราะความเป็นธรรมหาโทษมิได้ประการ ๑
ส่วนคำ (ต่อไป) นี้ เป็นคำแก้ปัญหา (อีก ๓ ข้อ) มีข้อว่า
อนึ่ง เพราะอะไรจึงมี ๔ เป็นต้น
ภาวนามีเมตตาเป็นอาทิเป็น ๔ เพราะอำนาจแห่งกิจ
มีความเป็นทางแห่งวิสุทธิเป็นต้น ส่วนลำดับแห่ง
ภาวนาเหล่านั้น เป็นเพราะอำนาจแห่งอาการมีความ
คิดเกื้อกูลเป็นต้น อนึ่ง เพราะเหตุที่ภาวนาเหล่า
นั้นเป็นไปในอารมณ์ (คือสัตว์) หาประมาณมิได้
จึงชื่ออัปปมัญญา
ด
ก็เพราะในภาวนา ๔ ประการนั้น เมตตาเป็นทางหมดจดแห่ง
บุคคลผู้มากด้วยพยาบาท กรุณาเป็นทางหมดจดแห่งบุคคลผู้มาด้วย
วิเหสา มุทิตาเป็นทางหมดจดแห่งบุคคลผู้มากด้วยอรติ อุเบกขาเป็น
ทางหมดจดแห่งบุคคลผู้มากด้วยราคะ และเพราะเหตุที่การมนสิการ
๑. มหาฎีกาว่า กรรมฐานอื่น ๆ มีแต่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ส่วนกรรมฐานนี้เป็นปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ผู้อื่น โดยภาวนาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงมีความสุขเถิด ดังนี้เป็นต้น จึงว่าเป็น
ความปฏิบัติชอบในสัตว์ทั้งหลาย
๒. มหาฎีกาว่า ผู้จะไปเกิดเป็นพรหมนั้น บำเพ็ญฌาน จิตปราศจากนิวรณ์แล้วจึงได้ไปเกิด
ในพรหมโลก แล้วก็เป็นผู้ที่มีจิตปราศจากนิวรณ์เช่นนั้นไปจนตลอดอายุของพรหม เพรา
จึงว่าพรหมทั้งหลายเป็นผู้มีจิตหาโทษมิได้อยู่
เพราะเหตุนั้น