ข้อความต้นฉบับในหน้า
- หน้าที่ 83
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ -
เป็นผู้ข่มได้ทั้งความไม่ยินดีและความยินดี" อันความไม่ยินดีหาข่มเธอ
ได้ไม่ (แต่) เธอข่มเสียได้ครอบงำเสียได้ ซึ่งความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นอยู่
(๒) เป็นผู้ข่มความกลัวภัยได้ อันความกลัวภัยหาข่มเธอได้ไม่ (แต่)
เธอข่มเสียได้ครอบงำเสียได้ ซึ่งความกลัวภัยที่เกิดขึ้นอยู่ (๓) เป็นผู้
ทนต่อความหนาวร้อน ฯลฯ (๔) เป็นคนชนิดที่อดกลั้นต่อทุกขเวทนา
กล้า... ขนาดจะคร่าชีวิตได” (๕) ได้อาศัยสีต่าง ๆ แห่งโกฏฐาส
ทั้งหลามีผมเป็นต้น จะเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ ตลอดไปถึงอภิญญา ๖
(ก็ได้)
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุผู้มีปัญญาพึงเป็นผู้ไม่ประมาท
บำเพ็ญกายคตาสตินี้อันมีอานิสงส์เป็นอเนกดังกล่าวมา
0.
ฉะนี้เทอญ
นี่เป็นกถามุขโดยพิสดาร
ในกายคติสติ
- มหาฎีกาว่า "อรติ คือไม่ยินดีในเสนาสนะสงัด และในกุศลธรรมอันยิ่ง ส่วนรติ
ได้แก่ยินดีในกามคุณ" แต่คำทั้ง ๒ นี้กล่าวเป็นคู่กัน น่าจะมีความหมายที่ตรงกันข้าม
เพ่ง รติ ที่ว่ายินดีในกามคุณ อรติ ก็น่าจะหมายความตรงกันข้าม คือ ไม่ยินดีในพรหมจรรย์
หรือเนกขัม
๒. บทตั้งคือ อรติรติสโห มีทั้งอรติ และรติ แต่ตอนขยายความ กล่าวแต่อรติ
น่าจะตกรติไป
๓.
ปาฐะที่เปยยาลไว้นี้ มรในจตุกกังคุตตระหน้า ๑๕๘ ความเต็มว่า ขโม โหติ สีตสุส
อุณหสฺส ชิฆจฉาย ปิปาสาย สมกสวาตาตปลิสปสมผสุสาน บุรุตฺตานํ ทุราคตาน
วจนปลานํ อุปฺปนฺนาน สารีริกานํ เวทนาน ทุกขาน ติพพาน ขราน กฎกานํ อสาตาน
อมนาปานํ ปาณหราน อธิวาสกชาติโก โหติ
๔. ที่เป็นได้ดังนี้ ด้วยอาศัยสี หมายความว่ากลายเป็นวัณณกสิณไป