ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ -
- หน้าที่ 28
ขึ้นไป ปาฐะว่า อโธ เกสมตฺถกา แปลว่า แต่ปลายผมลงมา
บทว่าตจปริยนต์ หมายความว่ามีหนังหุ้มโดยขวาง (คือหุ้มรอบ)
ปาฐะว่า ปูรนฺนานปุปการสฺส อสุจิโน ปจจเวกฺขติ คือเห็นว่า
กายน้ำเต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีผมเป็นต้นมีประการต่าง ๆ ถามว่า
คืออย่างไร ? ตอบว่า คือ อตฺถิ อิมสฺม กาเย เกสา โลมา นขา
1 ปฯ มุตติ ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ คือ สวิชชนฺติ
(แปลว่ามีอยู่) บทว่า อิมสฺมี คือในกายที่ตรัสว่า แต่พื้นเท้าขึ้นไป
แต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้ม เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ
บทว่า กาเย คือในสรีระ อธิบายว่า สรีระ เรียกว่ากาย เพราะ
เป็นที่เกิดแห่งโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้น และแห่งโรคนับ ๑๐๐
มีโรคตาเป็นอาทิ อันชื่อว่าของน่าเกลียด เพราะก่อเกิดมาแต่ของ
ไม่สะอาด" บททั้งหลายว่า เกสา โลมา เป็นอาทิเหล่านั้น คือ
อาการ ๓๒ มีผมเป็นอาการต้น” บัณฑิตพึงทราบสัมพันธ์ในบทบาลี
นั้น (โดยประกอบ อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย ทุกบท) อย่างนี้ว่า
๑. หมายความว่า อตฺถิ เป็นวจนวิปลาส หรือว่าเป็นนิบาต คงรูปอยู่อย่างนั้นทั้ง ๓ วจนะ
๒. มหาฎีกาว่าในประโยคแก้กายศัพท์นี้ มีบทเหตุ ๒ บท คือ อสุจิสญฺจยโต และ กุจฉ
ตาน... อายภูตโต บทหน้าให้ความหมายว่า กายศัพท์แปลว่า "ที่ประชุม (แห่งของไม่สะอาด)"
บทหลังแสดงโดยนิรุตินัย แยกกายศัพท์ออกเป็น กุจจิต+อาย "ที่เกิดแห่งของน่าเกลียด"
แต่ว่าในระหว่าง ๒ บทนี้ หามี จ ศัพท์เป็นเครื่องแสดงว่าศัพท์ทั้ง ๒ เป็นบทเหตุเสมอ
กันไม่ จึงเข้าใจว่า อสุจิสญฺจยโต เป็นเหตุในบท กุจฉิตาน ดังแปลไว้นั้น
๓. เพราะเหตุที่ในบาลีเรียกโกฏฐาสเหล่านี้ว่า "ประการ" (ในบทว่า นานปุปการสุส) แต่ใน
วิสุทธิมรรคนี้เรียก 'อาการ" (ในบทว่า ทวๆที่สาการา) มหาฎีกาท่านเกรงว่าจะเกิดปัญหาขึ้น
จึงบอกไว้ว่า อาการา ปการาติ หิ เอโก อตฺโถ ที่จริง คำว่า อาการ ประการ ก็ความเดียวกัน