มนสิการในพระโยคาวจร วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 37
หน้าที่ 37 / 266

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับกระบวนการมนสิการของพระโยคาวจร โดยเริ่มจากการไม่ฟุ้งซ่านและการเลิกทำตามบัญญัติ การนำน้ำในป่าเป็นตัวอย่าง เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งจิตไว้ในความเป็นปฏิกูล การปล่อยลำดับในการมนสิการและการดำเนินไปจนถึงมุตติ รวมถึงความสำคัญของการมนสิการในการฝึกจิตเพื่อนำไปสู่ความสงบและการบรรลุธรรม.

หัวข้อประเด็น

-การมนสิการของพระโยคาวจร
-การป้องกันความฟุ้งซ่าน
-บัญญัติในการมนสิการ
-การตั้งจิตในความปฏิกูล
-การปล่อยลำดับในมนสิการ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 37 ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรจึงควรมนสิการ โดยป้องกันความ ฟุ้งซ่าน (ด้วย) [มนสิการโดยล่วงเสียซึ่งบัญญัติ ข้อว่าโดยล่วงเสียซึ่งบัญญัติ ความว่า บัญญัติว่า เกสา โลมา เป็นอาทินี้ใด พระโยคาวจรจึงก้าวล่วงเสียซึ่งบัญญัตินั้นแล้วจึงตั้งจิตไว้ แต่ว่า "ปฏิกูล" เหมือนอย่างว่า ในคราวน้ำหายาก คนทั้งหลาย พบบ่อน้ำในป่าแล้ว ผูกสิ่งอะไร ๆ มีใบตาลเป็นต้นเป็นเครื่องหมายไว้ ในที่นั้นแล้ว มาตามเครื่องหมายนั้น อาบและดื่มได้ แต่เมื่อใด ด้วย การเที่ยวไปเนือง ๆ แห่งคนเหล่านั้น รอยของคนที่มา ๆ ย่อมจะ ปรากฏ เมื่อนั้น กิจด้วยเครื่องหมายามีไม่ คนทั้งหลายย่อมไปอาบ และดื่มได้ทุกขณะที่ต้องการ ฉันใด เมื่อพระโยคาวจรมนสิการไปตาม บัญญัติว่า เกลา โลมา---- ในเบื้องแรก (จน) ความเป็นปฏิกูล ปรากฏ ภายหลังจึงเลิกบัญญัติว่า เกลา โลมา---เสีย ตั้งจิตไว้ในความ เป็นปฏิกูลแต่อย่างเดียว ฉันนั้นแล โมนสิการ โดยปล่อยลำดับ] ข้อว่าโดยปล่อยลำดับ มีอรรถาธิบายว่า โกฏฐาสใด ๆ ไม่ ปรากฏ พระโยคาวจรผู้ปล่อยโกฏฐาสนั้น ๆ เสีย มนสิการไป ชื่อว่า มนสิการ โดยปล่อยลำดับ ก็เมื่อพระอาทิกัมมิกะมนสิการ (โดยอนุโลม เริ่ม) ว่า เกสา มนสิการก็ดำเนินไปจนสุดจดโกฏฐาสปลาย คือ มุตติ นี้ทีเดียว และเมื่อมนสิการ (โดยปฏิโลม) ว่า มุตติ มนสิการ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More