วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 64
หน้าที่ 64 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการวิเคราะห์โครงสร้างของไส้ใหญ่และไส้น้อยในร่างกายมนุษย์ โดยเน้นว่าไส้ใหญ่มีลักษณะยาวราว ๓๒ ศอก ส่วนไส้น้อยมีความสำคัญในการยึดขนดของไส้ใหญ่และทำหน้าที่เหมือนเชือกรัด ข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างนี้มีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบย่อยอาหาร และการปรับปรุงความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการย่อยอาหารของร่างกาย. มีการเปรียบเทียบกับศัพท์ทางการแพทย์และความเชื่อมโยงระหว่างสัจจฐานและความยากลำบากในกระบวนการย่อย

หัวข้อประเด็น

-โครงสร้างไส้ใหญ่
-โครงสร้างไส้น้อย
-การย่อยอาหาร
-ศัพท์ทางการแพทย์
-หลักวิเคราะห์ในวิสุทธิมรรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 64 ๓๒ ศอก ของผู้หญิงยาวประมาณ ๒๘ ศอก ขดไปมา ๒๑ ทบ ไส้ใหญ่นี้นั้น โดยสี ขาวดังสีก้อนกรวด (ขาว) หรือปูนขาว โดย สัณฐาน มีสัณฐานดังงูหัวขาดที่คนวางขนไว้ในรางเลือด โดยทิศ เกินในทิศทั้ง ๒ โดยโอกาส ตั้งอยู่ภายในร่างกาย มีปลายอยู่ที่คอ หอย (ข้าง ๑) และที่ทวารหนัก (ข้าง ๑) เพราะข้างบนมันติดอยู่ที่ คอหอย” และข้างล่างติดอยู่ที่ทวารหนัก โดยตัดตอนก็กำหนดตัด ด้วยส่วนของไส้ใหญ่เอง นี้เป็น (สภาคบริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วน ของตนแห่งไส้ใหญ่นั้น ส่วน (วิสภาคบริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วนที่ ผิดกับตน ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล [ไส้น้อย] คำว่า อนุตคุณ ไส้น้อย คือไส้อันเป็นสายพันอยู่ตามขนดไส้ ใหญ่ ไส้น้อยนั้น โดยสี ขาวดังสีรากจงกลนี โดยสัณฐาน ก็สัณฐาน ดังรากจงกลนีนั่นแหละ โดยทิศ เกิดในทิศทั้ง ๒ โดยโอกาส มันยึดขนดไส้ใหญ่ให้เป็นมัดอยู่ด้วยกัน ดุจเชือกยนต์ยึดแป้นยนต์ไว้ ในเวลาที่พวกช่างผู้ทำงานต่าง ๆ มีงานขุดเจาะเป็นต้นชักยนต์ (มัน) อยู่ในระหว่างแห่งขนดไส้ใหญ่ ๒๑ ทบ เหมือนเชือก (เล็ก) ที่เย็บ ๑. ท่านน่าจะเผลอ ศัพท์ที่เป็นวิเสสนะ ๒ ข้างต้น คือ ทวงที่สหตุถ์ กับ อฏฐีวีสติหตุก เป็น นุ๊ป. อีกศัพท์หนึ่งคือ โอภคคา เป็น อิต. เห็นได้ว่า... หตถ์ นั้น มุ่งให้เป็นวิเสสนะ ของ อนุติ น่าแก้เป็น ... หตุถา จะได้มีลิงค์เสมอกับบทลิงคัตถะ คือ อนุตรภูมิ ๒. ถ้าอย่างนี้ ก็เป็นอันรวมกระเพาะอาหารเข้าด้วย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More