ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ -
[ปุพโพ-น้ำเหลือง-หนอง]
- หน้าที่ 72
คำว่า ปุพฺโพ มีอธิบายว่า บุพโพนั้น (โดยสีปกติ) มีสี
(เหลืองอ่อน) ดังสีใบไม้เหลือง แต่ในร่างคนตาย (กลาย) เป็นมีสี
(ขาวหม่น) ดังสีน้ำข้าวบูดข้น ๆ ไป โดยสัณฐาน มีสัณฐานตาม
โอกาส (ที่อยู่ของมัน) โดยทิศ มันเกิดทั้ง ๒ ทิศ โดยโอกาส ชื่อ
ว่าโอกาสของบุพโพ ซึ่งเป็นที่ ๆ มันจะพึงขังอยู่เป็นประจำ หามีไม่
เป็นแต่ในตำแหน่งร่างกายแห่งใด ๆ ที่ถูกตอ หนาม เครื่องประหาร
และเปลวไฟเป็นต้นโดนเอา โลหิตห้อไหม้ไป หรือว่าฝีและต่อมเป็น
ต้นเกิดขึ้น มันจึง (มา) อยู่แห่งนั้น ๆ โดยตัดตอน กำหนดตัด
ด้วยส่วนของบุพโพเอง นี่เป็น (สภาคบริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วนของ
ตนแห่งบุพโพนั้น ส่วน (วิสภาคบริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วนที่ผิดกับ
ตน ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล
[โลหิต-โลหิต]
คำว่า โลหิต มีอธิบายว่า โลหิตมี ๒ คือสันนิจิต โลหิต (โลหิต
ขัง) ๑ สังสรณโลหิต (โลหิตไหลเวียน) ๑ ในโลหิต ๒ อย่างนั้น
สันนิจิตโลหิต โดยสี มีสีดังสีน้ำครั่งข้นที่แก่ไฟ สังสรณโลหิตสีดังน้ำ
ครั่งใส" โดยสัณฐาน โลหิตทั้ง ๒ อย่างมีสัณฐานตามโอกาส (ที่อยู่
ของมัน) โดยทิศ สันนิจิตโลหิตเกิดในทิศเบื้องบน โลหิตอีกอย่าง
๑. เพราะฉะนั้น ปุพฺโพ จึงแปลว่า น้ำเหลืองบ้าง น้ำหนองบ้าง
๒. สันนิจิตโลหิต จะตรงกับที่เรียกว่า โลหิตดำ ส่วนสังสรณโลหิต จะตรงกับโลหิตแดง
กระมัง ?