วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - โกรธและธรรมเกี่ยวกับขันธ์ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 180
หน้าที่ 180 / 266

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้พูดถึงการโกรธซึ่งเกี่ยวข้องกับขันธ์ ๕ และธาตุต่างๆ เช่น ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม รวมถึงความสัมพันธ์กับอายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ การเข้าใจถึงความโกรธ และฐานที่ตั้งของมัน เป็นสิ่งสำคัญเพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายใจ ในกรณีที่ไม่สามารถทำธาตุวินิพโภคได้ พระโยคาวจรควรทำทานสังวิภาค โดยการให้และรับของจากผู้อื่น แต่ต้องระมัดระวังไม่รับของจากมินนาชีวะหรือของไม่บริสุทธิ์

หัวข้อประเด็น

- ความโกรธในธรรม
- ขันธ์ ๕
- ธาตุต่างๆ
- การทำทานสังวิภาค
- อายตนะ ๑๒
- ธาตุ ๑๘

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 17 179 โกรธเล็บ ฯลฯ โกรธบุตร หรือมิฉะนั้น โกรธธาตุดิน โกรธธาตุน้ำ โกรธธาตุไฟ โกรธธาตุลม ในโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้น หรือว่า ท่านผู้นี้ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะอาศัยขันธ์ ๕ เหล่าใด เพราะอาศัย อายตนะ ๑๒ เหล่าใด เพราะอาศัยธาตุ ๑๘ เหล่าใด ในธรรม ทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้นเหล่านั้น เจ้าโกรธรูปขันธ์หรือ” หรือว่าโกรธ เวทนาขันธ์...สัญญาขันธ์...สังขารขันธ์...วิญญาณขันธ์ มิฉะนั้น เจ้า โกรธจักขวายตนะหรือ โกรธรูปายตนะหรือ ฯลฯ โกรธมนายตนะหรือ โกรธธัมมายตนะหรือ มิฉะนั้น เจ้าโกรธจักขุธาตุหรือ โกรธรูปธาตุ หรือ โกรธจักขุวิญญาณธาตุหรือ ฯลฯ โกรธมโนธาตุหรือ โกรธ ธัมมธาตุหรือ โกรธมโนวิญญาณธาตุหรือ" ก็เมื่อเธอทำธาตุวินิพโภค อยู่อย่างนี้ ฐานที่ตั้งแห่งความโกรธก็ไม่มี ดุจฐานที่ตั้งแห่งเมล็ด พันธุ์ผักกาดบนปลายเหล็กแหลมไม่มี และฐานที่ตั้งแห่งจิตรกรรมใน อากาศก็ไม่มี ฉะนี้ [วิธีสุดท้าย - ทำทานสังวิภาค] แต่พระโยคาวจรผู้ไม่อาจทำธาตุวินิพโภค ก็พึงทำทานสังวิภาค (การให้และการแบ่ง) เถิด (คือ) จึงให้ของ ๆ ตนแก่ปรปักษ์ รับ ของ ๆ ปรปักษ์มาเพื่อตน แต่ถ้าปรปักษ์เป็นมินนาชีวะ (มีอาชีวะ แตก คือไม่บริสุทธิ์) มีบริขารไม่เป็นของควรแก่การบริโภคไซร้ ก็พึง ให้แต่ของ ๆ ตน (ไปฝ่ายเดียว อย่ารับของ ๆ เขาเลย) เมื่อเธอทำ * รูปกฺขนฺเธสุ ผิด ที่ถูกเป็น รูปกฺขนฺธสฺส เพราะบทหลัง ๆ เป็นรูปจตุตถีวิภัติทั้งนั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More