ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 219
ประโยชน์และปรารถนาความปราศจากทุกข์อย่างนั้นแล้ว พึงปฏิบัติโดย
ยังใจให้บันเทิงในความได้ดี (ของเขา) ภาวนาอันมีความบันเทิง
ใจเป็นลักษณะนั้นเองเป็นมุทิตา ส่วนต่อนั้นไปพึงปฏิบัติโดยอาการ
เป็นกลาง กล่าวคือความวางเฉย เพราะความไม่มีกิจอันควรจะทำ
อุเบกขา
ภาวนาอันมีความเป็นไปแห่งอาการเป็นกลางเป็นลักษณะนั้นเองเป็น
เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ก็เพราะอำนาจแห่งอาการมี
(คิด) เกื้อกูลเป็นต้นนี้ ลำดับนี้ คือ เมตตา ตรัสเป็นข้อแรก แล้วกรุณา
แล้วมุทิตา แล้วอุเบกขา จึงเป็นลำดับของอัปปมัญญา ๔ นั้น
อนึ่ง เพราะเหตุที่เมตตากรุณามุทิตาอุเบกขานั่นทุกข้อ ย่อม
เป็นไปในอารมณ์หาประมาณมิได้ จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ
เป็นอารมณ์ของภาวนาเหล่านั้น เพราะแม้สำหรับเอกสัตว์ (สัตว์ผู้เดียว)
ภาวนาเหล่านั้น ก็เป็นไปโดยอำนาจที่แผ่ไปทั่ว (ทั้งร่าง) มิได้ถือเอา
ประมาณอย่างนี้ว่า ภาวนามีเมตตาเป็นอาทิ จะต้องเจริญในที่ (ส่วน
หนึ่งของร่างกาย) เท่านี้" ดังนี้แล เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวว่า
ภาวนามีเมตตาเป็นอาทิเป็น ๔ เพราะอำนาจแห่งกิจ
มีความเป็นทางแห่งวิสุทธิเป็นต้น ส่วนลำดับแห่ง
๑. แปลอีกนัยว่า เพราะเหตุนั้น พึงทราบลำดับของอัปปมัญญาเหล่านั้น ดังนี้ว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเมตตาก่อน แล้วจึงตรัสกรุณา มุทิตา และอุเบกขา ในลำดับ เพราะ
อำนาจแห่งอาการมีอันนำเข้าไปซึ่งประโยชน์เกื้อกูลเป็นต้นนี้
ๆ
๒. มหาฎีกาช่วยชี้ตัวอย่างว่า เช่นเจริญอุทธุมาตกอสุภ ก็ให้ถือเอานิมิตตรงที่ ๆ ขึ้นมาก
ที่ ๆ ขึ้นไม่มาก ก็ไม่ให้ถือเอา ส่วนอัปปมัญญาภาวนานี้ แม้จะแผ่ไปในสัตว์ผู้เดียว ก็มิได้
เจาะจงแผ่ให้อวัยวะส่วนไหน แผ่เป็นสกุลผรณา (คือแผ่ไปทั่วทั้งร่าง) จึงนับเข้าว่าเป็น
อัปปมัญญาเช่นกัน