วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 158
หน้าที่ 158 / 266

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้เกี่ยวกับการสอนของโยคาวจรภิกษุที่ใช้พระโอวาทของพระพุทธเจ้าเป็นแนวทางในการละปฏิฆะ และแสดงออกถึงความสำคัญของการควบคุมอารมณ์ โดยเฉพาะความโกรธ การอ้างอิงถึงคำสอนในฉบับยุโรปและการแก้ไขศัพท์ต่างๆ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ข้อควรระวังรวมถึงการติดตามความสำคัญของคำและการใช้ในบทสนทนาและการสอน ว่าถูกนำมาใช้ตามที่ศึกษาในอรรถกถาและพระสูตร ทั้งนี้การสอนนี้มีวัตถุประสงค์ในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและเพื่อการปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

หัวข้อประเด็น

-การละปฏิฆะ
-พระโอวาท
-การสอนของโยคาวจร
-คำศัพท์และความหมาย
-อรรถกถาและหลักธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 158 เธอจึงพยายามเพื่อละปฏิฆะ โดยระลึกถึงพระพุทธโอวาท ทั้งหลาย มีกกจูปมโอวาท (พระโอวาทที่มีความอุปมาด้วย เลื่อย) เป็นต้น บ่อย ๆ เถิด· ก็แลโยคาวจรภิกษุนั้นเมื่อจะสอนตน จึงสอนด้วยอาการ (ต่อไป) นี้แลว่า" "อะไรนี่เจ้าบุรุษขี้โกรธ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้มิใช่หรือว่า (๑) "ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้หากพวกโจรป่า” จะพึง (จับ ตัว) ตัดองค์อวัยวะด้วยเลื่อยที่มีด้าม ๒ ข้าง แม้นผู้ใดยังใจให้คอด ๑. ความตอนนี้ ฉบับยุโรปเรียงไว้เป็นรูปคาถาว่า กกจูปมโอวาท- ปฏิฆสฺส ปหานาย อาทีน์ อนุสสร โต ฆฎิตพฺนํ ปุนปฺปุนํ ข้าทีทีเดียว ส่วนฉบับของเราเรียงเป็นความเรียง และ ปุนปุปุน พลัดไปอยู่ต้นประโยคหลัง อย่างไรอยู่ ในที่นี้แปลตามฉบับยุโรป ๒. ประโยนี้มีปัญหา มหาฎีกาก็แก้แต่ศัพท์ และแก้ไว้นิดหน่อย ไม่พอจะเก็บประสมเป็นความ ขึ้นได้ ศัพท์ ต์ นั้นแหละขัดนัก มหาฎีกาเห็นเป็นสำคัญ แนะไว้ให้โยค ฆฏน วายมน์ แต่ก็แนะ ค้างไว้แค่นั้น ไม่บอกสัมพันธ์ให้ตลอด แต่ในที่นี้เห็นว่า ๆ นี้เป็นศัพท์เกินเข้ามา จึงตัดเสีย แปลได้ความดี โอวทนฺตเนว เป็นวิเสสนะของโยคาวจรน ไม่มีปัญหา รูปเป็นอนุภิหิตกัตตาแน่ แต่ไม่มี กิริยาหมายประโยคเรียงไว้ที่ไหนเลย จึงต้องเดิม โอวทิตพฺพ์ ให้เป็นประโยคและแปลได้ความ เช่นนั้น ๓. โจรา โอจรกา ศัพท์ โอจรกา แห่งนี้ท่านแก้ไปทางความประพฤติ คือในอรรถกถากกธูปมสูตร แก้ว่า นีจกมุมการกา ผู้ทำกรรมอันต่ำช้า ในมหาฎีกาแห่งวิสุทธิมรรคนี้แก้ว่า ลามกาจารา ผู้มีความ ประพฤติเลวทราม แต่ในที่อื่น ศัพท์นี้หมายถึงพวกคนสอดแนม คือลอบเข้าไปสืบความลับ เช่น ในโกศลสังยุต กล่าวถึงพวกราชบุรุษที่พระเจ้าปเสนทิโกศล โปรดให้ปลอมเป็นนักบวชลัทธิต่าง ๆ ไปสืบราชการลับในต่างแดน ก็เรียกว่า โอจรา มีอรรถกถาอธิบายว่า แม้พวกนี้จะไปเดินสืบอยู่ บนภูเขา ก็คงเรียกว่า โจรกา ผู้เที่ยวไปต่ำ อยู่นั่นเอง เพราะไปด้วยอาการลอบ เป็นความลับ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More