วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - การแผ่กรุณา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 202
หน้าที่ 202 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการตั้งอยู่ในฐานะแห่งกรุณา และการเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น ความสำคัญของการแผ่กรุณาไปยังสัตว์มีความทุกข์ และการเข้าใจปัญหาของผู้อื่น โดยการเปรียบเทียบกับบุคคลที่มีชีวิตลำบาก การแผ่กรุณาไม่ได้มีข้อจำกัดต่อสังคมและมีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ที่ทำชั่วหรืออยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ทำให้มันเป็นแนวทางที่สำคัญในพุทธศาสนา โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การตั้งอยู่ในฐานกรุณา
-ความสัมพันธ์ของกรุณา
-การเห็นอกเห็นใจ
-การช่วยเหลือผู้อื่น
-การเข้าใจปัญหาของชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 201 เพราะบุคคลที่รักก็ตั้งอยู่ในฐานแห่งคนที่รักนั่นแหละ (หาเป็นที่ตั้งแห่ง กรุณาไม่) บุคคลผู้เป็นสหายที่รักยิ่งเล่าก็ตั้งอยู่ในฐานแห่งสหายที่รักยิ่ง บุคคลกลาง ๆ ก็ก็ตั้งอยู่ในฐานแห่งคนกลาง ๆ บุคคลที่ไม่รักก็ตั้งอยู่ ในฐานแห่งคนไม่รัก บุคคลที่เป็นศัตรูกันก็ตั้งอยู่ในฐานแห่งคนเป็น ศัตรูกันนั่นแหละ (ทั้งหมดนี้หาเป็นที่ตั้งแห่งกรุณาไม่) (ส่วน) บุคคล ผู้มีเพศเป็นข้าศึกกัน และบุคคลที่ทำกาลกิริยาแล้ว ก็ไม่ใช่แดน (ที่จะ แผ่กรุณาไป) เลยทีเดียว แต่เพราะกล่าวไว้ในวิภังค์ว่า "อนึ่ง ภิกษุมี ใจสหรคตกับกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่อย่างไร ? (คือ) ภิกษุมีกรุณา แผ่ไปยังสัตว์ทั้งปวง เหมือนอย่างที่เห็นบุคคลผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นคนยาก แค้นเข็ญใจ แล้วจึงสงสารฉะนั้น" ดังนี้ (เพราะฉะนั้น) ก่อนอื่น หมด พระโยคาวจร ได้พบใครสักคนที่น่าสงสาร (คือ) มีรูปร่างน่า เกลียด ถึงซึ่งความลำบากเต็มประดา ยากแค้นแสนเข็ญ เป็นคน กำพร้า (แถม) มือและเท้ากุด นอนอยู่ที่ศาลาคนอนาถา วางกระเบื้อง (ขอทาน) ไว้ข้างหน้า มีหมู่หนอนออกจากมือและเท้า ทำเสียงครวญ ครางอยู่ จึงยังกรุณาให้เป็นไปว่า "สัตว์ผู้นี้ถึงซึ่งความทุกข์ยากหนอ ไฉนเล่าหนอเขาจะพึงพ้นจากทุกข์นี้ได้" ดังนี้เถิด เมื่อไม่ได้คนทุคตะ (เช่น) นั้น (เป็นอารมณ์) แม้บุคคลผู้มี ความสุขแต่มักทำบาป ก็พึงเจริญกรุณาได้ (โดย) เปรียบกับโจรที่เขา ทรูเปต์ มหาฎีกาแก้ว่า ได้แก่ประพฤติชั่ว (กายทุจจริตาทีห์ อุเปต์) เห็นว่าในที่นี้ ไม่น่าแก้เช่นนั้น เพราะการแผ่กรุณาแก่คนทำชั่ว ท่านกล่าวในตอนต่อไป เห็นว่า ทุรูเปต นี้ก็ไวพจน์ของ ทุคคติ นั่นเอง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More