วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 228
หน้าที่ 228 / 266

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับอุปนิสัยแห่งวิโมกข์ซึ่งกล่าวถึงมุทิตา และจิตของพระโยคาวจรอุเบกขาวิหารีที่ยากในการถือเอาสิ่งที่ไม่มี โดยการเพิกเฉยต่อการถือเอาประโยชน์ของผู้อื่น นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความสำคัญของอุเบกขาในการเข้าสู่ความไม่มีแห่งวิญญาณเพื่อบรรลุวิโมกข์อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังสื่อถึงความสำคัญของอัปปมัญญาในการทำกัลยาณธรรมให้บริบูรณ์และการแยกแยะระหว่างปรมัตถ์และปรัตถะที่ส่งผลต่อการเข้าใจธรรมะอย่างลึกซึ้ง.

หัวข้อประเด็น

-อุปนิสัยแห่งวิโมกข์
-อุเบกขา
-จิตของพระโยคาวจร
-ความไม่มีแห่งวิญญาณ
-อัปปมัญญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 227 อุปนิสัยแห่งวิโมกข์) ยิ่งไปกว่านั้น เพราะเหตุนั้น มุทิตานั้น จึงตรัส ว่าเป็น วิญญาณญจายตนปรมา (มีวิญญาณัญจายตนวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง) ส่วนจิตของพระโยคาวจรอุเบกขาวิหารี เป็นจิตยากที่จะถือเอาสิ่ง ที่ไม่มี เพราะความที่เป็นผู้เพิกเฉยต่อการถือเอาประโยชน์ผู้อื่นมาความ สุขความทุกข์เป็นต้น เพราะไม่มีความคำนึงว่า "ขอสัตว์ทั้งหลาย จงเป็นผู้ถึงซึ่งความสุขเถิด" หรือว่า "ขอสัตว์ทั้งหลายจงพ้นจากทุกข์เถิด' หรือว่า 'ขอสัตว์ทั้งหลายอย่าได้พรากจากความสุขที่ถึงพร้อมแล้วเลย ดังนี้ก็ดี ทีนี้ เมื่อเธอผู้มีจิตคุ้นในความเพิกเฉยต่อการถือเอาประโยชน์ ผู้อื่น และมีจิตยากที่จะถือเอาสิ่งที่ไม่มีโดยปรมัตถ์ ก้าวล่วงวิญญาณัญ จายตนะที่ได้บรรลุโดยลำดับแล้ว นำจิตเข้าไปในสิ่งที่ไม่มีโดยสภาวะ คือในความไม่มีแห่งวิญญาณที่เป็นปรมัตถ์ จิต (ของเธอ) ย่อมจะ แล่นไปในความไม่มีแห่งวิญญาณนั้น โดยไม่สู้ยากเลย อุเบกขาเป็น อุปนิสัยแห่งวิโมกข์) ยิ่งกว่านั้นไป เพราะเหตุนั้น อุเบกขานั้น จึง ตรัสว่าเป็น อากิญฺจญฺญายตนปรมา (มีอากิญจัญญายตนวิโมกข์เป็น อย่างยิ่ง) [อัปปมัญญาทำกัลยาณธรรมให้บริบูรณ์] บัณฑิตได้ทราบอานุภาพของอัปปมัญญาเหล่านั้น โดยความเป็น · ปาฐะ เป็น สุขทุกฺขาที่ปรมตฺถ...เข้าใจว่าคลาดเคลื่อน ที่ถูกเป็น... ปรตฺถ เพราะ สุขทุกฺขาทิ ที่เป็นวิเสสนะ ก็บ่งอยู่ว่าเป็น ปรัตถะ ไม่ใช่เรื่องปรมัตถะ ความคิดคำนึง ก็สนับสนุนว่าเป็นเรื่อง ปรัตถะ ทั้งนั้น แม้บท ปรมตฺถคุคาหโต บรรทัดล่างก็เช่นเดียวกัน ในที่นี้แปลตามที่เห็นว่าถูก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More