ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 214
ส่วนเคหสิตอญาณุเบกขา อันมา (ในบาลี) โดยนัยว่า
"เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ อุเบกขา (ความรู้สึกเฉย) เกิดขึ้นแก่บุถุชน
ผู้โง่เขลา ผู้เป็นคนกิเลสหนา ยังไม่เป็นโอธิชินะ (ผู้ชนะแดน)
ไม่เป็นวิปากชินะ (ผู้ชนะวิบาก)" ไม่เห็นโทษ (ในความลุ่มหลง ?)
มิได้สดับ (อริยธรรม) อุเบกขาใดมีรูปอย่างนี้ อุเบกขานั้นย่อม
ไม่ล่วงรูปไปได้” เพราะเหตุนั้น อุเบกขานั้นจึงเรียกว่า เคหสิตา
(อิงกาม)" ดังนี้เป็นต้น เป็นข้าศึกใกล้ของอุเบกขาพรหมวิหาร
เพราะอุเบกขาพรหมวิหารกับเคหสิตอญาณุเบกขา มีส่วนเสมอกันโดย
ไม่วิจารโทษและคุณ (เช่นกัน) ราคะและปฏิฆะ เป็นข้าศึกไกล
(ของอุเบกขา) เพราะมี (สภาพ) ส่วนที่เป็นของตนไม่เหมือนกัน
เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรจึงไม่ต้องกลัวแต่ระคะและปฏิฆะนั้น
๑. อโนธิชิน และ อวิปากชิ้น เป็นศัพท์แปลก อโนธิชิน นั้น ตามมหาฎีกาท่านแบ่ง
แดนเป็น ๒ คือ แดนกิเลสเรียก กิเลโสธ แดนมรรค เรียกว่า มคฺโคธิ อโนธิชิน
ท่านให้อรรถาธิบายว่า ยังไม่ชนะแดนกิเลสด้วยแดนมรรค ก็หมายความว่า ยังตกอยู่ใน
แดนกิเลสนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง คำโอธิชิน หมายเอาพระเสขะ เพราะท่านชนะกิเลสเป้น
แดน ๆ ขึ้นไปโดยลำดับ เพราะฉะนั้น อโนธิชิน ก็แปลว่า ผู้ยังมิได้เป็นพระเสขะ
ความก็คือยังเป็นบุถุชนนั่นเอง
อวิปากชิ้น ท่านให้อรรถาธิบายว่า ยังไม่ชนะวิบากที่อำนวยให้เป็นไปเกินกว่าภพ
ที่ ๓ ก็แปลว่ายังไม่ได้เป็นพระโสดาบัน ซึ่งก็ได้ความว่ายังเป็นบุถุชนนั่นแหละ อีกนัยหนึ่ง
ท่านว่า วิปากชิน หมายเอาพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์ชนะวิบากถึงที่สุดไม่ปฏิสนธิอีก
เพราะฉะนั้น อวิปากชิน ก็ได้แก่ยังไม่เป็นพระอเสขะ นัยนี้ไม่สมกับความในที่นี้ เพราะ
ในที่นี้พระบาลีจำกัดความเฉพาะบุถุชนที่โง่ ๆ เท่านั้น ที่ว่ายังไม่เป็นพระอเสขะ ความแล่น
ไปว่า เป็นพระเสขะแล้วก็ได้
๒. มหาฎีกาขยายความว่า ไม่ล่วงกิเลสอันมีรูปเป็นอารมณ์ไปได้