วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 43
หน้าที่ 43 / 266

สรุปเนื้อหา

ในวิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ กล่าวถึงการปฏิบัติธรรมของภิกษุที่มีอธิจิตต โดยมีธรรม ๖ ประการ ที่ช่วยในการเข้าถึงสีติภาวะอันยอดเยี่ยม จิตของภิกษุต้องถูกตั้งอย่างถูกต้องเพื่อห่างไกลจากอาสวะ และเพื่อให้สามารถประจักษ์ในอภิญญา-สัจฉิกรณีธรรมนั้นได้อย่างแท้จริง การปฏิบัตินี้รวมถึงการควบคุมจิตในช่วงเวลาที่เหมาะสม การยกจิต การทำให้จิตร่าเริง และการมุ่งไปที่พระนิพพาน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแนวทางในการเข้าถึงสภาวะเย็นสงบ.

หัวข้อประเด็น

-วิสุทธิมรรค
-การปฏิบัติธรรม
-สีติภาวะ
-อภิญญา
-ธรรมวินัย
-นิพพาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - - หน้าที่ 43 เป็นเครื่องประดับคอก็ดี เป็นสายสังวาลก็ดี สิ่งที่ประสงค์นั้นก็ย่อม สำเร็จแก่เขาแล ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบอธิชาติ (ต้อง มนสิการนิมิต ๓ ตามกาลอันควร) ฯลฯ (จิตของเธอจึงจะ) ตั้ง มันถูกทางเพื่อสิ้นอาสวะทั้งหลาย แม้นเธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่เป็นอภิญญาสัจฉิกรณียะใด ๆ เมื่อได้เหตุ อันควร เธอย่อมจะถึงความเป็นผู้อาจทำให้ประจักษ์ได้ในอภิญญา- สัจฉิกรณีธรรมนั้น ๆ โดยแท้" ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่ออธิจิตต (สูตร) [สีติภาวสูตร] สูตรนี้ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ เป็นผู้อาจเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสีติภาวะ (ความดับเย็น) อัน ยอดเยี่ยม ธรรม ๖ ประการคืออะไรบ้าง คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ ข่มจิตในสมัยที่จิตควรข่ม ๑ ยกจิตในสมัยที่จิตควรยก ๑ ทำจิตให้ ร่าเริงในสมัยที่จิตควรทำให้ร่าเริง ๑ เพ่งดูจิตอยู่เฉย ๆ ในสมัยที่จิต ควรเพ่งดูอยู่เฉย ๆ ๑ เป็นผู้มีอธิมุติ (คืออัธยาศัย) ประณีต ๑ มุ่งยินดีพระนิพพาน ๑ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้อาจทำให้แจ้งซึ่งสีติภาวะอันยอดเยี่ยม" ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อ สีติภาว (สูตร) ๑. อง, ตึก. ๒๐/๓๒๕ 0 ๒. องฺ. ฉกฺก. ๒๒-๔๘๔
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More