ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 52
หน้าผาก ต่อนั้นจึงส่งญาณเข้าไปโดยระหว่างกระดูกศีรษะและหนังหุ้ม
ศีรษะ ดุจสอดมือเข้าไปโดยระหว่างแห่งบาตรที่สวมถลกฉะนั้น แล้ว
และแยกความที่หนังเนื่องเป็นอันเดียวกันกับกระดูกออก กำหนด (แต่)
หนังศีรษะ ต่อนั้น กำหนดหนังคอ ต่อนั้นกำหนดหนังมือขวาทั้งโดย
อนุโลมและโดยปฏิโลม" ครั้นแล้วกำหนดหนังมือซ้ายโดยนัยนั้นเหมือน
กัน ต่อนั้นกำหนดหนังหลัง ครั้นกำหนดหนังหลังนั้นแล้ว จึง
กำหนดโดยนัยเดียวกันนั้น แต่นั้นกำหนดหนังท้องน้อย หนังหน้า
เท้าซ้ายโดยนัยเดียวกันนั้น แต่นั้นกำหนดหนังท้องน้อย หนังหน้า
ท้อง หนังทรวงอกและหนังคอโดยลำดับไป ทีนี้กำหนดหนังใต้คาง
ถัดหนังคอ (ขึ้นมา) จนถึงริมฝีปากล่างเป็นที่สุดจึงเสร็จ เมื่อพระ
โยคาวจรกำหนดเอาหนังหยาบ ๆ ได้อย่างนี้ แม้หนังที่ละเอียดก็ย่อม
จะปรากฏ
โดยทิศ หนังเกิดในทิศทั้ง ๒ โดยโอกาส มันหุ้มร่างกายทั้ง
สิ้นอยู่ โดยตัดตอน เบื้องล่างกำหนดตัดด้วยพื้นที่มันตั้งอยู่ เบื้องบน
กำหนดตัดด้วยอากาศ นี่เป็น (สภาคบริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วนของ
ตนแห่งหนังนั้น ส่วน (วิสภาคบริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วนที่ผิดกับ
ตน ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล
๑. มหาฎีกาว่า กำหนดตั้งแต่หัวไหล่ลงไปทางหลังแขน เป็นอนุโลม กำหนดแต่ข้อมือขึ้นมา
ทางหน้าแขน เป็นปฏิโลม
๒. มหาฎีกาว่า ที่ว่าละเอียด คือละเอียดกว่าหนังหยาบที่กล่าวมาแล้ว อีกนัยหนึ่ง หมายถึง
หนังที่กำหนดเห็นยาก เพราะถูก ตโจ (หนังหยาบ) ปิดบังอยู่ เช่นหนังในที่ลับต่าง ๆ มีหนัง
ข้างในปากเป็นต้น ซึ่งจะต้องส่งญาณเพิกตโจเข้าไปดูมันจึงจะปรากฏ