ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ -
- หน้าที่ 56
กระดูกซี่โครง ๒๔ กระดูกหน้าอก ๑๔ กระดูก (บัง) หัวใจ ๑
กระดูกรากขวัญ ๒ กระดูกสะบัก ๒ กระดูกต้นแขน ๒ กระดูก
ปลายแขนข้างละ ๒ กระดูก้านคอ ๓ กระดูกคาง ๒ กระดูก
จมูก ๑ กระดูกเบ้าตา ๒ กระดูกหู ๒ กระดูกหน้าผาก ๑ กระดูก
กระหม่อม ๑ กระดูกกะโหลกศีรษะ 8
กระดูกทั้งปวงนั้น โดยสี เป็นสีขาว โดยสัณฐาน มีสัณฐาน
ต่าง ๆ จริงอยู่ ในกระดูเหล่านั้น กระดูกนิ้วเท้าข้อปลาย มี
สัณฐานดังเมล็ดบัว" กระดูกข้อกลางถัดข้อปลายนั้นเข้ามา สัณฐาน
ดังเม็ดขนุน” กระดูกข้อโคน (ถัดข้อกลางเข้ามา) สัณฐานดัง
บัณเฑาะว์ กระดูกหลังเท้า สัณฐานดังกองหัวคล้าที่ถูกบุบ กระดูก
ซ่นเท้า สัณฐานดังจาวตาลในลอนเดียว กระดุกข้อเท้า สัณฐานดัง
ลูกสะบ้า (คู่) ประกบกัน กระดูกแข้งตรงที่ ๆ ตั้งลงในกระดูกข้อเท้า
Q.
ระเบียบแสดงจำนวนกระดูกนี้วุ่นอยู่ ที่มีทั้ง ๒ ข้าง บอกรวมเลยก็มี เช่นกระดูกมือ ๖๔
กระดูกเท้า ๖๘ กระดูกเช่น ๒ บอกแยกข้างไว้ก็มี เช่นกระดุกข้อเท้าข้างละ ๒ ก็บอกไว้ว่า
เอเกกสฺมึ ปาเท เทว เทว โคปผกฏจีน ทีนี้มีทั้ง ๒ ข้าง แต่ไม่มีศัพท์บอกแยกข้างก็มี
เช่นกระดูกแข้ง กระดูกเข่า กระดูกขา ท่านว่าไว้เฉย ๆ ว่า เทว ชงฆฏจีน เอก
ชนนกฏฐิ เอก อูรุฏฐิ ก็ต้องเติม "ข้างละ" เอาเอง เพราะถ้าแปลไปตรง ๆ นอกจาก
ไม่ได้ ๓๐๐ แล้ว ยังไม่ตรงกับของจริงด้วย
ในปรมัตถโชติกาไม่บอกจำนวน และใช้ศัพท์แปลกไปก็มี เช่นกระดูกสะบักใช้ว่า
ปิฏฐิพาหกฎฐิ แต่ในวิสุทธิมรรคนี้ใช้ว่า โกฏฏฏฐิ
๒. โบราณแปลกันมาเช่นนั้น ในปรมัตถโชติกาเป็น กกกฏพีช...อภิธานัปปทีปิกาว่า เมล็ดตูมกา
๓. ในปรมัตถโชติกาว่า อปริปุณฺณปนสฏฐิ เม็ดขนุนที่ยังไม่เต็ม
๔. ในปรมัตถโชติกาเป็น โกฏิตกนฺทลปิญชราสิ...
๕. ในปรมัตถโชติกา มี เอกโต อยู่หน้า พนฺธ...
ดังนี้
โคปผกฏจีน เอกโต พนธกีฬา
คุฬกสณฺฐานานิ