วิสุทธิมรรค: การเจริญเมตตาในบุคคล วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 153
หน้าที่ 153 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพิจารณาเกี่ยวกับการเจริญเมตตาภาวนาในบุคคลประเภทต่างๆ ว่าควรทำในบุคคลที่รักมากกว่าบุคคลที่เกลียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอุปสรรคทางอารมณ์ เช่น ความโกรธหรือราคะที่เกิดเมื่อระลึกถึงบุคคลที่เป็นข้าศึก วิธีการและเหตุผลที่ไม่ควรเจริญเมตตาในบางบุคคลถูกอธิบายผ่านเรื่องราวของบุตรขุนนางที่สับสนกับความรู้สึกของตนเอง เมื่อพยายามทำเมตตาภาวนา แต่ก็ถูกความกำหนัดบดบัง ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงอัปปนาได้ รวมถึงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเลือกบุคคลที่ควรเจริญเมตตากิริยาอย่างเฉพาะเจาะจง

หัวข้อประเด็น

-การเจริญเมตตา
-บุคคลที่รัก
-บุคคลที่เกลียด
-ผลกระทบทางอารมณ์
-เรื่องเล่าพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 153 เฉลยว่า เพราะว่าพระโยคาวจร เมื่อ (นึก) ตั้งคนที่เกลียดกัน ไว้ในฐานะแห่งคนรัก ย่อมลำบาก (ใจ) เมื่อ (นึก) ตั้งสหายที่รัก กันมาไว้ในฐานะแห่งคนกลาง ๆ กัน ก็ลำบาก ด้วยเมื่อทุกข์แม้เล็ก น้อยเกิดขึ้นแก่เขา เธอจะถึงกับร้องไห้ออกมาก็เป็นได้ เมื่อ (นึก) ตั้งคนกลาง ๆ กันไว้ในฐานะแห่งครูและในฐานะแห่งคนรัก ก็ลำบาก เมื่อระลึกถึงคนที่เป็นศัตรูกัน ความโกรธย่อมเกิดขึ้น เพร เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรเจริญไปในบุคคล 4 ประเภท มีคนเกลียดกันเป็นต้น เป็น ปฐม ส่วนในบุคคลที่มีเพศเป็นข้าศึกกัน เมื่อเจริญ โดยเจ้าจงถึงผู้มี เพศเป็นข้าศึกกันนั้นเข้า ความกำหนัดย่อมเกิดขึ้น ดังมีเรื่องเล่าว่า บุตรขุนนางผู้ใดผู้หนึ่ง (จะเจริญเมตตา) ถามพระเถระชีต้นว่า "ท่าน เจ้าข้า เมตตาควรเจริญในบุคคลไร" พระเถระบอก (โดยไม่มี เงื่อนไข) ว่า "ในบุคคลที่รัก" ก็ภริยาของตนย่อมเป็นที่รักของเขา เขาจึงเจริญเมตตาแก่หล่อน ก็ (ต้อง) ทำการรบกับฝาคืนยังรุ่ง เพราะฉะนั้น ในคนที่มีเพศเป็นข้าศึกกัน จึงไม่ควรเจริญโดยเจาะจง ส่วนในคนที่ทำกาลกิริยาแล้ว เจริญไปก็ไม่ถึงอัปปนา ไม่ถึง อุปจารได้เลย มีเรื่องเล่าว่า ภิกษุหนุ่มรูปใดรูปหนึ่งทำเมตตาภาวนา ๑. ปาฐะในวิสุทธิมรรค พิมพ์ครั้งที่ ๓ (๒๕๐๓) เป็น ตสฺมึ ผิด ที่ถูกเป็น ตสฺมา ๒. รบกับฝา (กิตติยุทธ) มหาฎีกาช่วยอธิบายว่า บุตรขุนนางผู้นั้นอธิษฐานศีลแล้วเขานั่งบน เตียงนอนในห้อง ปิดประตูเจริญเมตตาถึงภรรยา ถูกราคะซึ่งมาในหน้าเมตตาทำให้มืดไป ใครจะ ไปหาภรรยา แต่คลำหาประตูไม่เจอ จึงรบกับฝา คือทุบฝาด้วยอยากจะออกไป ส่วนคำว่า "คืนยังรุ่ง" (สพฺพรตต์) ซึ่งฟังดูอย่างไรอยู่นั้น ท่านเลยไปเสีย ไม่พูดถึง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More