ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 182
เมื่อใด พระโยคาวจรผู้มีจิตคิดเกื้อกูลแก่สัตว์
ทั้งหลาย ยังเห็นความต่างกันในคน ๔ คน คือใน
ตน ในคนที่เกื้อกูล (คือรัก) กัน ในคนกลาง ๆ
กัน และในคนไม่เกื้อกูล (คือเกลียด) กันอยู่
เมื่อนั้นยังไม่เรียกว่าเป็นผู้ฉลาดได้เมตตา (ฌาน)
อย่างที่ต้องการ ต่อเมื่อใด แดนทั้ง ๔ ภิกษุ
(โยคาวจร) รวมเข้าด้วยกันแล้ว แผ่เมตตาไปยัง
สัตวโลกทั้งปวง กับทั้งเทวดาด้วย เสมอกันหมด
เมื่อนั้น เธอผู้มีเมตตาไม่ปรากฏแดน จึงได้ชื่อว่า
เป็นผู้ยิ่งใหญ่ (ในเมตตาภาวนา) กว่าพระโยคา
วจรรูปก่อน
[เมตตาฌาน]
ในกาลเสมอกับกาลที่รวมแดน
คนได้อย่างนี้นั่นแล ภิกษุ (โยคา
จวร) นี้ ก็เป็นอันได้นิมิต และอุปจารด้วย ก็แลครั้นทำการรวม
แดนแล้ว เธอเสพยิ่งขึ้นไป เจริญทำให้มากขึ้นไปซึ่งนิมิตนั้นแหละ
ก็จะบรรลุอัปปนา ตามนัยที่กล่าวแล้วในปฐวีกสิณ โดยไม่ยากเลย
ด้วยภาวนานุโยคเพียงนี้ ปฐมฌานที่สหรคตกับเมตตาอันละองค์
๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ
มหาฎีกาว่า นิมติ ในที่นี้ ก็คือสีมส้มเภทนั่นเอง (ไม่ใช่นิมิตอย่างนิมิตในกสิณ)
เพราะเมื่อได้สมสัมเภทแล้ว นิวรณ์จึงระงับ กิเลสจึงชมไป จิตจึงตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิ