ความยาวและสั้นของลมหายใจในสัตว์และมนุษย์ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 98
หน้าที่ 98 / 266

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายความยาวและสั้นของลมหายใจในสัตว์และมนุษย์ โดยอธิบายการเปรียบเทียบลมหายใจของสัตว์ขนาดใหญ่เช่นช้างและงู กับสัตว์ขนาดเล็กเช่นสุนัขและกระต่าย การอธิบายมีการเชื่อมโยงการหายใจตามอัทธานะ รวมถึงข้อสรุปว่าในมนุษย์ลมหายใจสามารถแบ่งเป็นสองประเภทตามระยะเวลา โดยการหายใจยาวเกิดจากการใช้เวลานาน ขณะที่การหายใจสั้นเกิดจากระยะเวลาน้อย

หัวข้อประเด็น

-ความยาวของลมหายใจ
-ความสั้นของลมหายใจ
-ลมหายใจในสัตว์ใหญ่
-ลมหายใจในสัตว์เล็ก
-การเปรียบเทียบระหว่างสัตว์และมนุษย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 98 ส่วนความยาวและสั้นของลมทั้ง ๒ นั้นอันใด ความยาวและสั้น นั้นพึงทราบ (ว่าเป็น) ด้วยอำนาจอัทธานะ (คือระยะที่ และ ระยะกาล) เหมือนอย่างน้ำหรือทรายก็ดี ที่แผ่ไปตลอดอัทธานะคือที่ (ยาวหรือสั้น) เขาก็เรียก (ลำ) น้ำยาว (หาด) ทรายยาว (ลำ) น้ำสั้น (หาด) ทราบสั้น ฉันใด ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่แม้ เป็นของละเอียดยิ่งนัก (แต่มันเข้าไป) ทำอัทธานะ (คือที่) อัน ยาว ในร่างกายช้างและในร่างกายงู กล่าวคือลำตัวของมันให้เต็มช้าๆ แล้วออกช้า ๆ เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เขาจึงว่าลมหายใจ (ของช้าง และงู) ยาว ลมนั้น (เข้าไป) ทำอัทธานะ (คือที่) อันสั้น กล่าวคือลำตัวของสัตว์ (ตัวเล็กและตัวสั้น) มีสุนัขและกระต่าย เป็นต้นให้เต็มโดยเร็วแล้วออกเร็วเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เขาจึงว่า ลมหายใจ (ของสัตว์เล็ก) สั้น” ส่วนในพวกมนุษย์ ว่าโดยอัทธานะ คือกาล บางเหล่าก็หายใจออกและหายใจเข้ายาว ดังสัตว์ (ตัว ใหญ่และตัวยาว) มีช้างและงูเป็นต้น บางเหล่าก็หายใจออกและ หายใจเข้าสั้น ดังสัตว์ (ตัวเล็กและตัวสั้น) มีสุนัขและกระต่ายเป็น อาทิ" เพราะเหตุนั้น ลมหายใจของพวกมนุษย์นั้น เมื่อออกก็ดี เข้า ก็ดี กินระยะเวลานาน ก็พึงทราบว่ายาว เมื่อออกก็ดี เข้าก็ดี กิน ระยะเวลานิดหน่อย ก็พึงทราบว่าสั้น โดยเนื่องด้วยกาล ๑. มหาฎีกาว่า อัทธานศัพท์ บอก กาละ ก็ได้ เทสะ ก็ได้ ดังความอุทาหรณ์ต่อไปนั้น อัทธานะ หมายเอา เทสะ ทั้งนั้น ส่วนตอนว่าถึงความยาวสั้นของลมหายใจ หมายเอากาละ ๒. อธิบายอย่างนี้ก็ต้องเข้าใจว่าลมหายใจแล่นเข้าไปตลอดลำตัว ไม่ใช่เป็นเรื่องของปอด (?) ๓. ท่านเปรียบน่ากลัว !
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More