การระงับความโกรธผ่านการให้ในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 181
หน้าที่ 181 / 266

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงการระงับความโกรธและความอาฆาตผ่านการให้ โดยเน้นถึงบทเรียนที่สร้างความเข้าใจในการจัดการความรู้สึกเชิงลบ เจตนารมณ์ของการให้สามารถนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและลดความตึงเครียดในจิตใจได้อย่างมหัศจรรย์ ไม่ว่าจะเป็นในความสัมพันธ์กับคนที่รักหรือแม้แต่ศัตรู ความหมายของการให้ถูกนำเสนอในมุมมองใหม่ โดยมองว่าเป็นเครื่องมือที่มีพลังในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในสังคม

หัวข้อประเด็น

-การระงับความโกรธ
-อานุภาพของการให้
-ความเข้าใจและเมตตา
-การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
-บทบาทของการเจรจาไพเราะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 180 ไปอย่างนั้น ความอาฆาตในบุคคลนั้น จะระงับไปโดยส่วนเดียวเป็นแท้ และความโกรธของอีกฝ่ายหนึ่ง แม้จะติดตามมาตั้งแต่อดีตชาติ ก็จะ ระงับไปในทันทีเหมือนกัน ดังความโกรธของพระมหาเถระผู้ได้บาตร ที่พระปิณฑปาติเถระผู้ถูกไล่เสาสนะ ในจิตตลบรรพตวิหารถึง ครั้ง (นำบาตรเข้าไป) กราบเรียนว่า "ข้าแต่พระมหาเถระ ผู้เจริญ บาตรใบนี้ราคา 4 กหาปณะ อุบาสิกาโยมผู้หญิงของกระผม ถวาย จึงเป็นภาพอันชอบธรรม ขอพระคุณเจ้าได้โปรดช่วยมหาอุบาสิกา (ของกระผม) ให้ได้บุญด้วยเถิด" ดังนี้แล้ว (น้อม) ถวาย ระงับ ไปฉะนั้น อันชื่อว่าการให้นี่ มีอานุภาพมากอย่างนี้ สมคำ က (โบราณ) ว่า การให้ ปราบคนที่ใคร ๆ ปราบไม่ได้ (ก็ได้) การให้ ยังสิ่งประสงค์ทั้งปวงให้สำเร็จ (ก็ได้) ด้วย การให้กับการเจรจาไพเราะ (ประกอบกันทำให้) คนทั้งหลายเงยก็มี ก้มก็มี เมื่อพระโยคาวจรนั้นมีปฏิฆะในบุคคลผู้เป็นศัตรูระงับไปด้วยการสอน ตนที่ประการต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว จิต (ของเธอ) ก็ย่อมจะเป็นไป โดยทำเมตตาให้มีขึ้นแม้ในบุคคลผู้เป็นศัตรูนั้นได้ ดุจในบุคคลผู้เป็น ที่รัก บุคคลผู้เป็นสหายรักกันมาก และบุคคลที่เป็นกลาง ๆ ฉะนั้น ๑. น่าจะเล่าสักนิดว่า โกรธกันเรื่องอะไร มหาฎีกาก็ไม่เล่าในเรื่องนี้ ๒. มหาฎีกาว่า ฝ่ายเงย คือฝ่ายผู้ให้ ฝ่ายก้ม คือฝ่ายผู้รับ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More