วิสุทธิมรรค: การจัดการกับความโกรธ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 167
หน้าที่ 167 / 266

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้ กล่าวถึงการพิจารณาความโกรธและผลกระทบจากมัน โดยที่ผู้คนมักใช้ความโกรธเป็นที่พึ่ง แต่หากพิจารณาให้ดีจะพบว่าตัวเองเป็นเหตุแห่งทุกข์ ศัตรูไม่สามารถทำให้เราทุกข์ได้หากเราไม่ให้ความสำคัญกับความโกรธ การวิเคราะห์ถึงขันธ์ที่ทำให้เกิดความโกรธถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่จะลดความโกรธให้ได้ จึงจำเป็นต้องสอนตนเองและพิจารณาความเป็นจริง เพื่อที่จะไม่ต้องโกรธคนอื่น

หัวข้อประเด็น

-ความโกรธและการจัดการ
-การพิจารณาความทุกข์
-วิธีการลดความโกรธ
-การฝึกสติตนเอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

0. ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 166 เจ้าจึงโกรธเลียนแบบเขาด้วยเล่า ๔) ศัตรูอาศัยความโกรธอันใดของเจ้า (เป็น ชนวน) จึงทำสิ่งไม่พึงใจให้ (เจ้า) ได้ เจ้าจง ตัตความโกรธอันนั้นเสียให้ได้เถิด เจ้าจะมาเดือด ร้อนในฐานะอันไม่ควร (จะเดือดร้อน) ทำไม่กัน (๕) อนึ่ง ศัตรูทำสิ่งไม่พอใจแก่เจ้าด้วยขันธ์ เหล่าใด ขันธ์เหล่านั้นก็ดับไปแล้ว เพราะธรรม ทั้งหลายเป็นไปชั่วขณะ แล้วทีนี้เจ้ามาโกรธให้ ใครกันในที่นี้ (๑๐) ศัตรูใดจะทำทุกข์ให้แก่บุคคลใด เว้น (คือ ไม่มีตัว) บุคคลนั้นเสีย ศัตรูนั้นจะทำทุกข์ให้ใคร ได้ ตัวเจ้าเป็นเหตุของทุกข์อยู่เองฉะนี้ ทำไมเจ้า จึง (ไป) โกรธเขาเลาะ" [สอนตนนัยที่ ๔ - พิจารณากัมมัสสกตา] แต่ถ้าเมื่อเธอแม้สอนตนอยู่อย่างนี้ ปฏิฆะก็ยังไม่ระงับอยู่นั่นไซร้ นี่ว่าโดยปรมัตถ์ ขันธ์ที่เป็นเครื่องมือทำทุกข์ให้ ดับไปหมดแล้วในขณะนั้น ๆ ที่ตั้งอยู่ในเวลา โกรธอยู่นี้เป็นขันธ์อื่น ที่สืบต่อมาโดยสันตติ นับเป็นขันธ์ที่ไม่ได้ทำผิด เมื่อโกรธ ก็กลายเป็นโกรธ ผู้ไม่ผิดนะซิ จะชอบหรือ ? ๒. นี่ก็ปรมัตถ์ ถ้าตัวผู้รับทุกข์ไม่มีอยู่ ศัตรูมันจะทำทุกข์ให้แก่ใครเล่า เพราะตัวเรามีอยู่เป็นเหตุ ของทุกข์ เขาจึงทำทุกข์ให้ได้ เมื่อตัวเป็นเหตุของทุกข์อยู่เองแล้ว จะไปโกรธคนอื่นจะถูกหรือ ถ้า จะโกรธก็ควรจะโกรธตัวเองซิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More