ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 242
[ความหมายโดยสังเขป]
แต่ (ว่า) โดยสังเขป พึงทราบว่า ในปาฐะเหล่านั้น ด้วย
ปาฐะว่า 'รูปสญฺญาน์ สมติกุกมา เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาทั้งหลาย
นี้ เป็นอันตรัสการละรูปาวจรธรรมทั้งหมด ด้วยปาฐะว่า 'ปฏิฆ
สญฺญานํ อตฺถงฺคมา นานตฺตสญฺญาน์ อมนสิการา - เพราะตกไปแห่ง
ปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะไม่ทำในใจถึงนานัตตสัญญาทั้งหลาย" นี้
ตรัสการละและการไม่ทำในใจซึ่งจิตและเจตสิกอันเป็นกามาวจรทั้งสิ้น
[แก้ อนนฺโต อากาโส]
ในปาฐะว่า "อนนฺโต อากาโส - อากาศเป็นอนันตะ" นี้ มี
วินิจฉัยว่า ที่สุดข้างเกิดก็ดี ที่สุดข้างเสื่อมก็ดี ของอากาศนั้น ไม่
ปราก เหตุนั้น อากาศนั้นจึงชื่อ อนันตะ (มีที่สุดไม่ปรากฏ)
กสิณุคฆาฏิมากาส (อากาศตรงที่กสิณรูปเพิกไป) เรียกว่า อากาศ
อนึ่ง ความเป็นอนันตะในอากาศนั้น พึงทราบ (ว่าเป็น) ด้วยอำนาจ
แห่งมนสิการก็ได้ เพราะเหตุนั้นแหละ ในวิภังค์จึงว่า "ภิกษุทั้ง
ดำรงจิตไว้มั่นในอากาศนั้น แผ่ไปหาที่สุดมิได้ เหตุนั้น จึงเรียกว่า
'อนนฺโต อากาโส - อากาศเป็นอนันตะ" ดังนี้
[แก้ อากาสานญจายตน์...]
ส่วนในปาฐะว่า "อากาสาญจายตน์ อุปสมฺปชฺช วิหรติ
* มหาฎีกาว่า สภาวธรรม กำหนดได้ด้วยความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป เพราะไม่มีแล้วมามีขึ้น
ก็ได้ มีแล้วเสื่อมหายไปก็ได้ ส่วนอากาศ ท่านกล่าวว่าเป็น อนันตะ เหตุไม่มีทั้งสองอย่าง
เพราะไม่ใช่สภาวธรรม