ความหมายของการตายและการเกิดใหม่ในพระพุทธศาสนา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 19
หน้าที่ 19 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงความตายในมุมมองของพระพุทธศาสนา โดยชี้ให้เห็นว่าการตายไม่จำเป็นต้องมีนิมิตที่แน่นอน และไม่ถูกกำหนดว่าต้องเกิดในที่ใดตามความเชื่อ โดยมีการอธิบายว่าร่างของสัตว์ทั้งหลายอาจตกอยู่ในที่ต่าง ๆ ตามเหตุและปัจจัย ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในใดก็ตาม ทุกสิ่งหมุนเวียนไปใน ๕ คติ ซึ่งสะท้อนถึงแนวคิดการเกิดและการตายที่ไม่มีข้อจำกัด อันส่งผลให้ผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติได้เข้าใจถึงแนวทางในการเผชิญกับความตายอย่างมีสติ.

หัวข้อประเด็น

-ความตายและการเกิดใหม่
-วัฏจักรชีวิต
-คติและนิมิต
-พระพุทธศาสนาและการตาย
-การศึกษาอาการของความตาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑ - หน้าที่ ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - 19 ตายในกาลนี้เท่านั้น ไม่ตายในกาลอื่น ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมตาย ในตอนเช้าก็มี ในตอนอื่นมีตอนเที่ยงเป็นต้นตอนใดตอนหนึ่งก็มี สถานที่ทอดร่างเล่า ก็ชื่อว่าไม่มีนิมิต เพราะไม่มีกำหนดอย่าง นี้ว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลาย อสัตว์ทั้งหลายตาย ร่างจะต้องตกอยู่ที่นี่เท่านั้น ไม่ตกอยู่ที่อื่น ด้วยว่าร่างของบุคคลทั้งหลายผู้เกิดภายในบ้าน (ไปตาย) ตกอยู่ภาย นอกบ้านก็มี ร่างของบุคคลทั้งหลายผู้เกิดภายนอกบ้าน (มาตาย) ตกอยู่ภายในบ้านก็มี โดยนัยเดียวกันนั้น บัณฑิตพึง (พรรณนา) ให้ กว้างไปหลาย ๆ ประการ เป็นต้นว่า ร่างของสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดบนบก (ไปตาย) ตกอยู่ในน้ำ หรือว่าร่างของสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดในน้ำ (มา ตาย) ตกอยู่บนบก... คติเล่า ก็ชื่อว่าไม่มีนิมิต เพราะไม่มีกำหนดอย่างนี้ว่า อันสัตว์ ผู้จุติจากคตินี้ จะต้อง (ไป) เกิดในคตินี้ ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายผู้จุติจาก เทวโลก (มา) เกิดในพวกมนุษย์ก็มี ผู้จุติจากมนุษยโลก (ไป) เกิด ในโลกอื่นมีเทวโลกเป็นต้นที่ใดที่หนึ่งก็มี เพราะอย่างนี้ (สัตว์) โลกจึงหมุนเวียนไปใน ๕ คติ ดุจโคที่เขาเทียมไว้ในยนต์ (คือกาง เวียน ? ) เดินเวียนอยู่ฉะนั้น ฉะนี้ พระโยคาวจรพึงระลึกถึงความตาย โดยชีวิตไม่มีนิมิต ดังกล่าวมา [อธิบายอาการที่ ๗ - อทฺธานปริจเฉทโต] บทว่า อทฺธานปริจเฉทโต อธิบายว่า อัน (ระยะ) กาลแห่ง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More