จูฬธัมมปาลชาดกและบทเรียนทางจิตใจ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 172
หน้าที่ 172 / 266

สรุปเนื้อหา

ในจูฬธัมมปาลชาดก พระธรรมปาลกุมาร แสดงถึงความสามารถในการควบคุมจิตใจท่ามกลางอันตรายและความทุกข์ เมื่อถูกสั่งให้ต้องเสียสละชีวิต พระธรรมปาลสามารถรักษาใจให้อยู่ในความสงบและซื่อสัตย์ต่อทุกคนรอบข้าง แม้จะเผชิญกับความตายก็ตาม เรื่องราวนี้สอนให้เห็นถึงความสำคัญของการมีจิตใจที่มั่นคงในสถานการณ์เศร้าโศก

หัวข้อประเด็น

-พระธรรมปาลกุมาร
-การควบคุมจิตใจ
-จูฬธัมมปาลชาดก
-ความอัศจรรย์ของมนุษย์
-บทเรียนทางจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 171 [จูฬธัมมปาลชาดก] แต่ในจูฬธัมมปาลชาดก พระธรรมปาลกุมาร โพธิสัตว์ แม้ยัง เมื่อ (ทั้ง ๆ ที่) พระมารดาทรงพระพิลาป เป็นเด็กอ่อนนอนแบอยู่ เมื่อ (ทั้ง ๆ อยู่ว่า โอ้พระทูลกระหม่อม (แม้น) พาหาทั้ง ๒ อันลูบ ไล้ด้วยจันทนรส (น้ำอบแก่นจันทน์) ของพ่อ ธรรมบาล ผู้เป็นทายาท (แห่งราชสมบัติ) ใน ปฐพีขาดไป ชีวิตของเกล้ากระหม่อมฉันก็จะดับ (ด้วย) ดังนี้ ก็ถูกพระราชาทรงนามมหาปตาปนะผู้เป็นพระบิดา สั่งให้ตัดมือ และเท้าทั้ง 4 ข้างอัน (เรียวสลวย) ราวกะหน่อไม้เสีย (จะได้) แล้ว เท่านั้นยังไม่พอพระหฤทัย ตรัสสั่งว่า "พวกเจ้าจงตัดหัวมันเสีย" ดังนี้อีกเล่า จึงเตือนตนว่า "กาลบัดนี้นี่เป็นกาลที่เจ้าจะข่มจิตของเจ้า ไว้ให้ดี เอาละเจ้าธรรมบาล คราวนี้ เจ้าจงเป็นผู้มีจิตเสมอในบุคคล ทั้ง 4 คือ ในพระบิดาผู้ทรงสั่งให้ตัดศีรษะ ในเจ้าหน้าที่ผู้ตัดศีรษะ ในพระมารดาผู้กำลังทรงคร่ำครวญ และในตัวเองเถิด ดังนี้แล้วทรง อธิษฐานทัฬหสมาทาน (ถือการทำใจเสมอให้มั่น) มิได้ทรงกระทำ แม้แต่อาการร้าย (ให้ปรากฏ) แม้การที่พระธรรมปาลกุมารผู้เป็นมนุษย์ทำได้อย่างนี้เล่า ก็นับว่า ยังไม่อัศจรรย์แท้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More