ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 193
ถือเอาความหมายอย่าง (เกจิอาจารย์) นั้น จึงแผ่อโนธิโสเมตตา ใน
อาการ ๕ เหล่านี้โดยอาการใดอาการหนึ่งไปเถิด
[อัปปนา ๕๒๘]
ก็แลในเมตตาภาวนานี้ ภาวนาว่า "สพฺเพ สตฺตา อเวรา
โหนตุ ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวรเถิด" นี้ก็เป็นอัปปนา
อันหนึ่งได้ ภาวนาว่า "(สพฺเพ สตฺตา) อพฺยาปชฺฌา ดหนฺตุ-
ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้มีความไม่บีบคั้นเถิด" นี้ก็เป็นอัปปนา
อันหนึ่งได้
คำว่า 'อพยาปชฺฌา - ไม่มีความบีบคั้น" นั้น คือ พยาปาทรหิตา
ปราศจากพยาบาท
ภาวนาว่า "(สพฺเพ สตฺตา) อนีฆา โหนตุ - ขอสัตว์
ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีทุกข์เถิด" นี้ก็เป็นอัปปนาอันหนึ่งได้
คำว่า อนีฆา ได้แก่ นิทฺทุกฺขา - ไม่มีทุกข์
ภาวนาว่า "(สพฺเพ สตฺตา) สุขี อตฺตานํ ปริหรันตุ - ขอ
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้มีความสุขรักษาตนอยู่เถิด" นี้ก็เป็น
อัปปนาอันหนึ่งได้
อโนธิโส ผรณาติ วุจจติ ในมหาฎีกาเป็น....ผรณา วิรุชฺฌติ เห็นว่าของท่านถูก เพราะ
แปลได้ความดี
ในที่นี้ได้แก้และแปลตามที่เห็นว่าถูก
ที่ว่าผิดจาอโนธิโสผรณานั้น หมายความว่า ถ้าถือตามมติเกจิอาจารย์ว่าคำทั้ง ๕ มีความ
หมายต่างกันแล้วก็จะกลางเป็นว่า สตฺตาก็อย่าง ๑ ปาณาก็อย่าง ๑ ภูตาก็อย่าง ๑ บุคคลาก็อย่าง
...แยกแดนกันไป ไม่สมกับพระบาลีที่กล่าวความตอนเป็นอโนธิโสผรณา (แผ่รวมแดน)