วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - สาธยายกรรมฐาน วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 33
หน้าที่ 33 / 266

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอการสาธยายกรรมฐานด้วยวาจาและใจ โดยเน้นบทบาทของการสาธยายที่ช่วยให้จิตมุ่งมั่นและไม่วอกแวก เพื่อการเข้าถึงโกฏฐาสได้ชัดเจน โดยมีการอธิบายถึงมิติสี สัณฐาน ทิศ และโอกาสของโกฏฐาสที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดและตัดตอนการปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น การทำซ้ำจะช่วยให้ระบบกรรมฐานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาและทำให้จิตใจสงบ

หัวข้อประเด็น

-การสาธยายทางวาจา
-การสาธยายทางใจ
-ระบบกรรมฐาน
-โกฏฐาส
-มิติสีและสัณฐาน
-ทิศและโอกาสของโกฏฐาส
-การตัดตอนในการปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - - หน้าที่ 33 พึงทำสาธยายด้วยวาจาไปอย่างนี้ ครั้ง ๑,๐๐๐ ครั้ง กระทั่ง ๑๐๐,๐๐๐ ๑๐๐ ครั้งก็ดี ด้วยว่า ด้วยการสาธยายทางปาก (อย่างนั้น) ระบบ กรรมฐาน ย่อมจะคล่องตัว จิตจะไม่แล่นไปทางโน้นทางนี้ โกฏฐาส ทั้งหลายก็จะปรากฏ คือชัด (เป็นถ่องแถว) ดังแถวนิ้วมือ และดัง แถวกระทู้รั้วฉะนั้น [ทางใจ-สี-สัณฐาน-ทิศ-โอกาส-ตอน] ก็ทางวาจา ทำสาธยายอย่างใด ถึงทางใจ ก็พึงทำสาธยาย อย่างนั้นแหละ เพราะการสาธยายทางวาจา เป็นปัจจัยแห่งการสาธยาย ทางใจ การสาธยายทางใจ เป็นปัจจัยแห่งการแทงตลอดลักษณะ (แห่งโกฏฐาส ?) คำว่า 'โดยสี' คือพึงกำหนดดูสีของโกฏฐาสทั้งหลายมีผม เป็นต้น คำว่า "โดยสัณฐาน" คือพึงกำหนดดูสัณฐานของโกฏฐาสเหล่า นั้นนั่นแล คำว่า 'โดยทิศ' อธิบายว่า ในสรีระนี้ เหนือนาทีขึ้นไป เป็นทิศบน ใต้นาภีลงไป เป็นทิศล่าง เหตุนั้น จึงกำหนดทิศว่า "โกฏฐาสนี้ (อยู่) ในทิศชื่อนี้ คำว่า ' โดยโอกาส" ความว่า พึงกำหนดโอกาสของโกฏฐาสนั้น ๆ อย่างนี้ว่า "โกฏฐาสนี้ตั้งอยู่ในโอกาสตรงนี้ คำว่า 'โดยตัดตอน' มีอรรถาธิบายว่า ตัดตอนมี ๒ คือ (สภาค
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More