วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 86
หน้าที่ 86 / 266

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการฝึกจิตใจโดยอาศัยลมหายใจเข้าและออก การตั้งจิตมั่นและการพิจารณาเห็นไม่เที่ยง เพื่อความเข้าใจและการบรรลุธรรม วิธีการต่างๆ ที่เสนอในบทนี้ช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถปล่อยวางและเห็นความจริงในลมหายใจ โดยตระหนักถึงการเกิดขึ้นและการดับไปของลมหายใจนั้น การพิจารณานี้สามารถนำไปสู่การพัฒนาจิตใจอย่างลึกซึ้งและการเจริญสติ การมุ่งมั่นและการปฏิบัติให้แก่จิตใจคือหัวใจสำคัญของการปฏิบัติในศาสตร์นี้.

หัวข้อประเด็น

-การเจริญกรรมฐาน
-การพิจารณาลมหายใจ
-การตั้งจิตมั่น
-ความไม่เที่ยง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้า หน้าที 86 (๑๐) สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ยังจิตให้บันเทิงยิ่งหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ยังจิตให้บันเทิงยิ่งหายใจเข้า (๑๑) สำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า (๑๒) สำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า (จตุกกะที่ ๔] (๑๓) สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจ ออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยวหายใจเข้า (๑๔) สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความคลายไป หายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความคลายไป หายใจเข้า (๑๕) สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับไปหาย ใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้า (๑๖) สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละทิ้ง หายใจออก สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละทิ้ง หายใจเข้า" ดังนี้ บัดนี้ นิเทศแห่งการเจริญอานาปานสติกรรมฐานนั้น มาถึงแล้ว โดยลำดับ แต่เพราะนิเทศนั้น เมื่อกล่าวไปตามแนวคำบาลีนั่นแล * สํ. มหาวาร. ๑๕/๔๐๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More