ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 237
รูปเป็นสัญญาแห่งอารมณ์นั้น เหตุนั้น อารมณ์นั้นจึงชื่อ รูปสัญญะ
(มีรูปเป็นสัญญา) อธิบายว่า ฌานนั้นมีรูปเป็นชื่อ" ดังนี้ พึงทราบว่า
เป็นคำเรียกอารมณ์ของรูปาวจรณานนั้น อันต่างโดยกสิณ (๕) มี
ปฐวีกสิณ เป็นอาทิ
[แก้สมติกุกมา]
บทว่า เพราะก้าวล่วง คือเพราะหายรัก และเพราะดับ ถามว่า
คำอธิบายมีอย่างไร ? แก้ว่า "เพราะหายรัก และเพราะดับ คือ
เหตุที่หายรักและเหตุที่ดับไป แห่งรูปสัญญาทั้งหลาย ที่ได้แก่ฌาน ๑๕
โดยจัดเป็นกุศล วิบาก และกิริยา (อย่างละ ๕ เหล่านั้น และรูป
สัญญาทั้งหลายที่ได้แก่อารมณ์ ๕ ตามจำนวนกสิณ มีปฐวีกสิณเป็นต้น
เหล่านั้น โดยทุกส่วน หรือไม่มีส่วนเหลือ จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ
อยู่ได้ เพราะว่าผู้มีรูปสัญญายังไม่ก้าวล่วงไปโดยประการทั้งปวง ไม่
อาจเข้าถึงอากาสา
ถึงอากาสานัญจายตนะนั้นอยู่ได้" เพราะเหตุที่การก้าวล่วง
สัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ยังไม่หายรักในอารมณ์ แต่ครั้นสัญญาทั้งหลายก้าว
ล่วงไปแล้ว อารมณ์ก็เป็นอันก้าวล่วงอารมณ์ไว้ ในอากาสานัญจา
ยตนะนั้น ตรัสแต่การก้าวล่วงสัญญาไว้ในวิภังค์ อย่างนี้ว่า "บรรดา
สัญญาเหล่านั้น รูปสัญญาทั้งหลายเป็นอย่างไร ? สัญญา คือ ความจำได้
ความหมายรู้อันใดแห่งภิกษุผู้ถึงพร้อม หรือเข้าถึงซึ่งรูปาวจรสมาบัติ
* เทียบกับ รุเป สญฺญา รูปสัญญาติ เอว... ท่อนหน้าแล้วท่านหลังคือ รูป สญฺญา...
วุตต์ โหติ เอว... นำจะประกอบ อิติ ที่ โหติ ในที่นี้แปลตามที่เข้าใจนี้