วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 76
หน้าที่ 76 / 266

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้มีการพูดถึงการเกิดน้ำตาเนื่องจากอารมณ์ต่างๆ เช่น ความดีใจและความเสียใจ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างน้ำมันและน้ำตา โดยนำเสนอการเผชิญกับอารมณ์และการทำความเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดน้ำตา อธิบายถึงสีและสัณฐานของมันที่เกิดขึ้นในที่ต่างๆ เสนอมุมมองด้านจิตใจและการปรับตัวเมื่อเผชิญกับอารมณ์และสภาพแวดล้อม. บทเรียนเหล่านี้มีคุณค่าต่อการพัฒนาจิตใจและการทำความเข้าใจในความรู้สึกของตนเองในชีวิตประจำวัน.

หัวข้อประเด็น

-การเกิดน้ำตา
-อารมณ์และความรู้สึก
-การวิเคราะห์น้ำมันและน้ำตา
-ปรมัตถโชติการ
-การพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 76 จึงเกิดขึ้น เพราะความดีใจ ความเสียใจ อาหารและฤดูที่แสลง (ตา) เหล่านั้น (อย่างใดอย่างหนึ่ง) แล้วเอ่ออยู่เต็มเบ้าตาบ้าง ไหลออก มาบ้าง ก็พระโยคีผู้จะกำหนดเอาน้ำตา (เป็นอารมณ์) ก็พึงกำหนด เอาตามที่มันเอ่ออยู่เต็มเบ้าตานั่นแหละ โดยตัดตอน กำหนดตัดด้วย ส่วนของน้ำตาเอง นี่เป็น (สภาคบริเฉท) ตัดตอนด้วนส่วนของตน แห่งน้ำตานั้น ส่วน (วิสภาคบริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วนที่ผิดกับคน ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล [วสา-มันเหลว] คำว่า วสา แปลว่ามันเหลว มันเหลวนั้น โดยสี มีสีดังสีน้ำมัน มะพร้าว แม้จะกล่าวว่า มีสีดังน้ำมันที่ราดลงไปในน้ำข้าวก็ควร โดย สัณฐาน มีสัณฐานดังหยาดน้ำมัน ที่ซ่านไปลอดคว้างอยู่เหนือน้ำอันใส ในเวลาล้าง" (มัน) โดยทิศ มันเกิดในทิศทั้ง ๒ โดยโอกาส มันอยู่ ในฝ่ามือ หลังมือ ฝ่าเท้า หลังเท้า ปลายจมูก หน้าผาก และจะงอยปา โดยมาก แต่ว่ามันหาได้ละลายอยู่ในโอกาสเหล่านี้ทุกเมื่อไม่ ต่อเมื่อ ใดตำแหน่งเหล่านั้นเกิดอบขึ้นเพราะร้อนไฟ ร้อนแดด ผิดอากาศ ๑. ฤดู ไม่ได้พูดถึงมาก่อน มาโผล่แถมขึ้นอย่างไรอยู่ วิสภาคาหารนั้นข้างต้นเป็นวิสมาหาร แต่ในปรมัตถโชติการ เป็น โสมนสฺสโทมนสฺสวิสมาหาราทีห์ ตรงกับที่ว่ามาข้างต้น อย่างไรก็ดี บทเหล่านี้ว่าไว้ในประโยค ยทา แล้ว ไม่น่ากล่าวซ้ำอีกในประโยค ตทา พอขึ้นประโยค ตทา ก็น่าจะกล่าวผลเลยทีเดียว ความถึงจะสนิท ๒. นหานกาเล ถ้าจะแปลว่าในเวลา (คน) อาบน้ำ ก็มีปัญหาว่า น้ำมันอะไรในตัวเอง ไหลซ่านออไปอย่างนั้น จึงคิดว่า นุหานศัพท์นี้จะต้องแปลว่า "ล้าง" คือล้างน้ำมันที่ติดอะไรอยู่ ก็ตาม น้ำมันจึงซ่านออกไปลอยอย่างนั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More