วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - อุปจารและอัปปนา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 235
หน้าที่ 235 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทนี้กล่าวถึงการนึกหน่วงเอากสิณในฌานอุปจาร การพัฒนาจิตให้รู้ลึกในนิมิตแห่งอากาศ การรำงับนิวรณ์และเสริมสร้างสมาธิ ที่สำคัญคือ การเข้าใจในรูปแบบการละนิวรณ์อย่างละเอียดในอรูปฌาน เพื่อให้เข้าถึงความประณีตของจิต สถานตนในระดับสูงขึ้น เช่นเดียวกับการเข้าสู่ปฐมฌาน การวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องในบทการนำเสนอในวิสุทธิมรรคว่า พฤติกรรมมีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ และความคิดต่าง ๆ ของอาจารย์ในเรื่องนิวรณ์

หัวข้อประเด็น

-การนึกหน่วงในฌาน
-นิมิตทางอากาศ
-ความสำคัญของนิวรณ์
-การเสริมสร้างสมาธิ
-ความเข้าใจในอรูปฌาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ [อุปจารและอัปปนา] ๆ - หน้าที่ 234 พระโยคาวจรนั้น นึกหน่วงเอากสิณคฆาฎิมากาสนิมิตนั้นแล้วๆ เล่า ๆ ว่า 'อากาโส อากาโส - อากาศ อากาศ" ทำไปจนเป็นนิมิต ที่นึกเอามาได้ (ตักกาหตะ) ตรึกเอามาได้ (วิตักการตะ) เมื่อเธอ นึกหน่วง (นิมิตนั้น) แล้ว ๆ เล่า ๆ ทำไปจนเป็นนิมิตที่นึกเอามาได้ ตรึกเอามาได้อย่างนั้นอยู่ นิวรณ์ทั้งหลายก็รำงับ สติตั้งมั่น จิตเป็น สมาธิชั้นอุปจาร เธอต้องเสพเจริญทำให้มากซึ่งนิมิตนั้นให้บ่อยเข้า ๆ เมื่อเธอต้องเสพ เจริญ ทำให้มากบ่อยเข้า ๆ อย่างนั้นอยู่” อากาสา นัญจายตนจิตย่อมแนบแน่งในอากาศ ดุจดังรูปาวจรจิตแนบแน่นใน กสิณมีปฐวีกสิณเป็นต้น ฉะนั้น ก็แม้ในอากาสานัญจายตนฌานนี้ ชวนะ ๓ หรือ ๔ ดวงในส่วนเบื้องต้น ยังเป็นกามาวจรสัมปยุตด้วย อุเบกขาเวทนาอยู่ ชวนะดวงที่ ๔ หรือที่ ๕ จึงเป็นอรูปาวจร คำ พรรณนาที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว ในปฐวีกสิณนั่นแล ด. ๔ มหาฎีกาตั้งข้อสังเกตว่า "ไฉนท่านจึงมากล่าวถึงนิวรณ์ ในที่นี้อีก นิวรณ์ทั้งหลายรำงับไปแล้ง แต่ในอุปจารขณะแห่งรูปาวจรปฐมฌาน ตั้งแต่นั้นมันก็ไม่เกิดอีก มิใช่หรือ ถ้ามันเกิด ก็เสื่อม จากฌานละซิ ส่วนที่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า "นิวรณ์ละเอียดที่จะพึงละด้วยอรูปฌานมีอยู่ เหมือนกัน ที่ท่านกล่าวถึงการละนิวรณ์ในที่นี้อีกนั้น ก็หมายถึงนิวรณ์ละเอียดนั้นเอง" นี้ก็เป็น แต่มติของอาจารย์เหล่านั้น เพราะในมหัคคตกุศลทั้งหลาย หามีการละเป็นชั้น ๆ เหมือนใน โลกุตตรกุศลไม่... แต่ที่จริง คำว่านิวรณ์รำงับ ในที่นี้ท่านกล่าวเป็นโวหารพรรณนาสรรเสริญ ไปอย่างนั้นเอง กิเลสที่ละแล้วในเบื้องต่ำมากล่าวการละอีกในเบื้องสูง ก็มีกล่าวในที่อื่นเหมือนกัน... ท่านแก้นุ่มนวลดีแท้ ถ้าเป็นเราก็ว่า "ท่านเผลอไปกระมัง" ๒. ตรงนี้ปาฐะในฉบับวิสุทธิมรรคเป็น ตสฺส ปูนปุปุน อาวชฺชโต มนสิกโรโต เห็นว่า คลาดเคลื่อน เพราะประโยคหน้าเป็น อาเสวติ ภาเวติ พหุลีกโรติ ประโยคหลังนี้ก็ต้อง เป็น อาเสวโต ภายโต พหุลีกโรโต ไปตามกันจึงจะถูก ในที่นี้แก้และแปลตามที่เห็นว่าถูก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More