วิสุทธิมรรค แปล ภาค ๒ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 256
หน้าที่ 256 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สนทนาเกี่ยวกับความคิดและการตั้งอยู่ในสมาบัติในทางธรรมซึ่งมีระดับความละเอียดและอธิบายการเปรียบเทียบกับพระราชาที่ไม่เห็นคุณค่าของการเป็นช่างฝีมือ อธิบายถึงความสำคัญของความคิดที่แยกจากการบรรลุถึงธรรมระดับละเอียดอย่างเนวสัญญีนาสัญญีโดยใช้การเปรียบเทียบนี้เพื่อให้เข้าใจถึงการฝึกจิตใจในขณะที่ทำสมาบัติและพัฒนาความเข้าใจในสัญญา

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาเกี่ยวกับสมาบัติ
-ความคิดและจิตใจ
-การบรรลุธรรม
-เนวสัญญีนาสัญญี
-การฝึกจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 255 นั้น) ก็จริงอยู่ ถึงกระนั้น ความคิดคำนึง ความรวมใจ ความใสใน ว่าเราจักนึกหน่วง เราจักเข้า เราจักตั้งอยู่ เราจักออก เราจักปัจจเวกขณ์ ถึงสมาบัตินั่น" นี้ ก็หามีแก่เธอไม่ ถามว่าเพราะเหตุไฉน ? ตอบว่า เพราะความที่เนวสัญญานาสัญญายตนะละเอียดกว่า ประณีตกว่า อากิญ จัญญายตนะ เหมือนอย่างว่า พระราชาประทับคอช้างตัวประเสริญ เสด็จ ไปในถนนในพระนครด้วยราชานุภาพอันยิ่งใหญ่อยู่ (ต่างว่า) ทอด พระเนตรเห็นพวกช่างฝีมือมีช่างงาเป็นต้น ซึ่งนุ่งผ้าผืนหนึ่งไว้มั่น โพก ศีรษะด้วยผ้าผืนหนึ่ง มีตัวเปื้อนด้วยผงทั้งหลายมีผงงาเป็นต้น ทำการ ฝีมือต่าง ๆ มีทันตวิบัติ (ประดิษฐ์งาเป็นรูปต่าง ๆ) เป็นต้น ก็พอ พระหฤทัยในความฉลาดของพวกเขาด้วยรับสั่งว่า "เออแน่ะ เจ้าพวก ารย์นี่ฉลาดนะ คูรี ทำการฝีมือถึงเช่นนี้ก็ได้" ดังนี้ แต่จะทรงดำริ ว่า "เออ เราละสมบัติไปเป็นช่างฝีมือเช่นนั้นเถิดน่ะ" อย่างนี้ หามี แก่พระองค์ไม่ เพราะเหตุไร เพราะสิริราชสมบัติมีคุณใหญ่กว่า พระ องค์ก็เสด็จล่วงเลยพวกช่างฝีมือไปเสียเท่านั้นเองฉันใด อันพระโยคา วจรนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำในใจถึงสมาบัตินั้นโดยว่าเป็นธรรม ละเอียดก็จริงแล แต่ทว่าความคิดคำนึง ความรวมใจ ความใส่ใจว่า "เราจักนึกหน่วง เราจักเข้า เราจักตั้งอยู่ เราจักออก เราจักปัจจเวกขณ์ ถึงสมาบัตินั้น" นี้ ไม่มีแก่เธอเลย เธอเมื่อทำในใจถึงสมาบัตินั้น โดย ว่าเป็นธรรมละเอียดโดยนัยที่กล่าวมาก่อนนั้นแล ก็จะบรรลุถึงสัญญา อันถึงอัปปนาที่ละเอียดยิ่งนั้น ซึ่งเป็นสัญญาที่เป็นเหตุให้ได้ชื่อว่าเป็น เนวสัญญีนาสัญญี ชื่อว่าทำจนเป็นสังขาราวเสสมาบัติ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More