การแผ่เมตตาในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 186
หน้าที่ 186 / 266

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการแผ่เมตตาของพระโยคาวจร ที่ได้อธิบายถึงการตั้งจิตให้เมตตาในทุกทิศทุกทาง โดยใช้เปรียบเทียบกับการขับม้าในสนาม เพื่อแสดงถึงความสำคัญของการมีเมตตาและการไม่แบ่งแยกสัตว์ทั้งหลาย การอธิบายยังมีความหมายนอกเหนือจากการแผ่เมตตาในแบบแถบ โดยเน้นถึงความเป็นหนึ่งในสัตว์ทั้งหมด รวมถึงการพิจารณาถึงสัตว์ในสถานะที่แตกต่างกัน เช่น สัตว์ชั้นสูงและชั้นกลาง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งในศาสนา และความสำคัญของจิตที่ไม่ปล่อยให้ที่อยู่ภายนอก ถึงแม้ว่าจะมีประเภทของสัตว์ที่แตกต่างกันก็ตาม.

หัวข้อประเด็น

-ความเป็นหนึ่งในสัตว์
-การแผ่เมตตา
-การปฏิบัติในวิสุทธิมรรค
-คำสอนพระบาลี
-การเข้าใจศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 185 โดยนัยดังนี้ พระโยคาวจรชื่อว่ายังจิตอันประกอบไปด้วยเมตตา ให้แล่นไปบ้าง ให้แล่นกลับมาบ้าง ในทิศทั้งปวง ดุจสารถียังม้าให้ แล่นไปมาอยู่ในสนามม้าวงกลม ฉะนั้นแล ๆ การกำหนดเอาทิศหนึ่ง ๆ แผ่เมตตาไปเป็นแถบ ๆ พระผู้มีพระ ภาคเจ้าทรงแสดงด้วยบทพระบาลีเพียงนี้ (คือเพียง อุทธมโธ ติริย์) ส่วนบทพระบาลีมีบทว่า สพฺพธิ เป็นต้นไป ตรัสเพื่อแสดง (การ แผ่) โดยไม่เป็นแถบ (คือรวมหมด) ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพธิ ก็คือ สพฺพตฺถ (ในทิศ ทั้งปวง) บทว่า สพฺพตฺตตาย ความว่า โดยความเป็นตนในสัตว์ ทั้งปวง อันมีประเภทต่าง ๆ เช่นสัตว์ชั้นเลย ชั้นกลาง และชั้นสูง ที่เป็นมิตรกัน เป็นศัตรูกัน และกลาง ๆ เป็นต้น มีอธิบายว่า โดย ความเสมอกับตน ไม่แบ่งแยกว่าเราว่าสัตว์อื่น อีกนัยหนึ่ง บทว่า นั้น สพฺพตฺตตาย หมายความว่า โดยจิตตภาพ (กำลังจิต ?) ทั้งหมด อธิบายว่า ไม่ (ปล่อยให้) เขยื้อนไปภายนอก (กรรมฐาน) แม้ แต่นิดเดียว บทว่า สพฺพาวนต์ ความว่าที่มีสรรพสัตว์ คือประกอบ ด้วยสรรพสัตว์ บทว่า โลก หมายเอาสัตวโลก ส่วนคำว่า เมตตาสหคเตน ตรัสซ้ำอีกในตอนอโนธิโสผรณะ (แผ่รวม) นี้ เพราะ (เพื่อ) แสดงปริยาย (คือไวพจน์แห่งเมตตา- * ปาฐะวิสุทธิมรรคฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๓ พิมพ์ไว้ว่า อย ปรสตฺโตติ วิภาค อกตวา อตฺตสมตาย เห็นว่า อย ผิด ที่ถูกเป็น อห์ เพราะความเลขนอกยันอยู่ ในที่นี้แปลตาม ที่เห็นว่าถูก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More